Page 17 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองวังยาวแปลงที่ สบ. 4 จังหวัดสระบุรี : พื้นที่ดำเนินการ บ้านหนองมะกรูด หมู่ที่ 12 บ้านซับสนุ่น หมู่ที่ 9 บ้านซับขอน หมู่ที่ 12 และบ้านหนองจอก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ลุ่มน่ำสาขาแม่น้ำป่าสักตอนล่าง (รหัส 1208) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12)
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        9


                                     ระบบการจําแนกดินที่ใชในประเทศไทย คือ ระบบการจําแนกดินของสหรัฐ
                       อเมริกา USDA (United States Department of Agriculture) ที่เรียกวา ระบบอนุกรมวิธานดิน

                       (soil taxonomy) (Soil Survey Staff, 2014)
                              อนุกรมวิธานดิน (soil taxonomy) ระบบการจําแนกดินของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา

                       ที่ใชสมบัติของดินซึ่งเปนลักษณะประจําตัวของดินเปนพื้นฐานในการจําแนก มีเกณฑเชิงปริมาณที่
                       ตรวจสอบไดดวยวิธีการทางวิทยาศาสตรและใหชื่อดินที่มีลักษณะเฉพาะ (คณะกรรมการจัดทํา
                       พจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551) ซึ่งเปนระบบหนึ่งของการจําแนกดินที่มีความละเอียด และมีหลักการ

                       เชิงวิทยาศาสตรมากที่สุด และเปนระบบที่นักวิทยาศาสตรทางดินในประเทศไทยใชในการจําแนกดิน
                       (เอิบ, 2548)

                                     อนุกรมวิธานดินเปนระบบการจําแนกดินแบบหลายขั้น (multicategorical
                       classification system) และแบงกลุมของชั้นตาง ๆ ออกเปนขั้นสูงและขั้นต่ําตามกฎเกณฑ โดยใน
                       การจําแนกขั้นสูงนั้นจะใชขอจํากัดเดนที่ครอบคลุมลักษณะปลีกยอยในชั้นของการจําแนกขั้นต่ําไว

                       อยางชัดเจน ขั้นการจําแนกทั้งหมดในระบบมีอยู 6 ขั้น โครงสรางของระบบหรือความเกี่ยวของกัน
                       ของขั้นการจําแนกจากขั้นสูงไปจนถึงขั้นต่ํา คือ

                                    ขั้นของการจําแนกขั้นสูง (higher categories)
                                               อันดับ (order)
                                                   อันดับยอย (suborder)

                                                      กลุมดินใหญ (great group)
                                                                กลุมดินยอย (subgroup)
                                            ขั้นของการจําแนกขั้นต่ํา (lower categories)

                                               วงศดิน (family)
                                                    ชุดดิน (series)
                                     1. อันดับดิน (order) จําแนกโดยใชกระบวนการสรางดินที่สําคัญที่บงชี้โดยการมี

                       หรือไมมีชั้นดินวินิจฉัย
                                     2. อันดับยอย (suborder) จําแนกโดยใชสมบัติของดินที่แสดงความเหมือนในเชิง
                       กําเนิด (genetic homogeneity) เนนความเปยก สภาพภูมอากาศ และพืชพรรณ

                                     3. กลุมดินใหญ (great group) จําแนกโดยใชสมบัติการมีหรือไมมีชั้นดินวินิจฉัย
                       และความชัดเจนของลักษณะวินิจฉัยที่พบในดิน
                                     4. กลุมดินยอย (subgroup) จําแนกโดยใชลักษณะและสมบัติของกลุมดินใหญและ

                       ลักษณะที่คลายคลึงกับลักษณะของกลุมดินใหญ อันดับยอยและอันดับอื่น หรือที่เกี่ยวของกับวัสดุและ
                       ลักษณะที่ไมใชดิน
                                     5. วงศดิน (family) จําแนกโดยใชลักษณะดินที่มีผลตอการจัดการ และการตอบสนอง

                       ของพืช โดยทั่วไปใชความแตกตางของเนื้อดิน แรวิทยาของดิน อุณหภูมิของดิน และความลึกของดิน
                       เปนหลัก
                                     6. ชุดดิน (series) เปนขั้นที่การแบงหนวยดินเจาะจงที่สุด ที่แยกออกจากกันภายใน

                       วงศดินหนึ่ง ๆ โดยใชชนิดและการจัดเรียงตัวของชั้นดิน ซึ่งเปนลักษณะของดินหนึ่ง (คณาจารยภาควิชา
                       ปฐพีวิทยา, 2548)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22