Page 13 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองวังยาวแปลงที่ สบ. 4 จังหวัดสระบุรี : พื้นที่ดำเนินการ บ้านหนองมะกรูด หมู่ที่ 12 บ้านซับสนุ่น หมู่ที่ 9 บ้านซับขอน หมู่ที่ 12 และบ้านหนองจอก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ลุ่มน่ำสาขาแม่น้ำป่าสักตอนล่าง (รหัส 1208) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12)
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
4. พื้นที่ลุมน้ําชั้นที่ 4 หมายถึง พื้นที่ภายในลุมน้ํา ซึ่งมีคาดัชนีคุณภาพของลุมน้ําที่
สภาพปาไดถูกบุกรุก แผวถางเปนที่ใชประโยชนเพื่อกิจการพืชไรเปนสวนมาก
5. พื้นที่ลุมน้ําชั้นที่ 5 หมายถึง พื้นที่ภายในลุมน้ํา ลักษณะโดยทั่วไปเปนที่ราบหรือ
ที่ลุม หรือเนินลาดเอียงเล็กนอยและสวนใหญปาไมไดถูกบุกรุกแผวถางเพื่อประโยชนดานเกษตรกรรม
โดยเฉพาะทํานาและกิจการอื่น ๆ ไปแลว
2. การพัฒนาที่ดิน
การพัฒนาที่ดิน (land development) หมายถึง การกระทําใด ๆ ตอดินหรือที่ดินเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพของดินหรือที่ดินหรือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรใหสูงขึ้น และหมายความรวมถึง
การปรับปรุงบํารุงดินหรือที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติหรือขาดความอุดมสมบูรณ
เพราะการใชประโยชน และการอนุรักษดินและน้ํา เพื่อรักษาดุลธรรมชาติหรือเพื่อเพิ่มความเหมาะสม
ในการใชประโยชนที่ดินในทางเกษตรกรรม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)
เขตพัฒนาที่ดิน (zone of land development) หมายถึง พื้นที่ลุมน้ํายอยที่ไดรับการ
คัดเลือกใหพัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวของของกรมพัฒนาที่ดิน เชน การสํารวจและวาง
แผนการใชที่ดิน การจัดทําระบบอนุรักษดินและน้ํา การปรับปรุงบํารุงดิน และฟนฟูดินที่มีปญหาทาง
การเกษตร มุงหวังใหสามารถใชประโยชนไดอยางมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเปนพื้นที่สาธิต
การพัฒนาที่ดินอยางเปนระบบ (สํานักนิเทศและถายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน, 2551)
เขตพัฒนาที่ดินลุมน้ํา หมายถึง พื้นที่ลุมน้ํายอยที่ไดรับการคัดเลือกใหเปนพื้นที่ดําเนินการ
พัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวของ เชน การจัดทําระบบอนุรักษดินและน้ําทั้งวิธีกล และวิธี
พืชเพื่อปองกันการชะลางพังทลายของดิน การปรับปรุงบํารุงดินที่มีปญหาตามสภาพปญหาของพื้นที่
เชน ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินกรด ดินตื้น ดินทราย และดินที่มีปญหาตาง ๆ รวมทั้งการฟนฟูดินเสื่อม
โทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อแกปญหาดินใหใชประโยชนไดอยางมี
ประสิทธิภาพและยั่งยืน และเปนการสาธิตใหเกษตรกรและประชาชนทั่วไปไดเห็นถึงประโยชนของ
การพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ การฟนฟู และปรับปรุงบํารุงดิน (คณะทํางานจัดทําหลักสูตรการ
จัดระบบอนุรักษดินและน้ําในเขตพัฒนาที่ดิน, 2558)
3. การสํารวจดิน
ดิน (soil) หมายถึง อินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่ไมจับตัวแข็งเปนหิน ซึ่งปกคลุม
พื้นผิวโลก เปนตัวกลางธรรมชาติสําหรับการเจริญเติบโตของพืช หรืออินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่
ไมจับตัวแข็งเปนหินซึ่งปกคลุมพื้นผิวโลก ซึ่งเปนผลมาจากปจจัยดานการกําเนิดและสภาพแวดลอม
ไดแก ภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิต (พืชและสัตว) สภาพภูมิประเทศ วัตถุตนกําเนิด และระยะเวลา
ความเหมาะสมตอการผลิตพืชของดินแตกตางกัน เนื่องจากลักษณะและสมบัติที่แตกตางกันทาง
กายภาพ เคมี ชีวภาพ และสัณฐานวิทยาของดิน (คณะกรรมการจัดทําพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)
ทําใหเกิดดินที่เหมือนหรือแตกตางกันหลายชนิดปกคลุมพื้นผิวโลกอยูเปนชั้นบาง ๆ เปนที่ยึดเหนี่ยว
ของรากพืช ทําใหพืชสามารถเจริญเติบโตและใหผลผลิต รวมถึงเปนแหลงอาหาร น้ํา และอากาศ
แกสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยูในดินและบนดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)