Page 11 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองวังยาวแปลงที่ สบ. 4 จังหวัดสระบุรี : พื้นที่ดำเนินการ บ้านหนองมะกรูด หมู่ที่ 12 บ้านซับสนุ่น หมู่ที่ 9 บ้านซับขอน หมู่ที่ 12 และบ้านหนองจอก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ลุ่มน่ำสาขาแม่น้ำป่าสักตอนล่าง (รหัส 1208) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12)
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
บทที่ 2
การตรวจเอกสาร
1. การศึกษาและจัดการพื้นที่ลุมน้ํา
ความหมายของลุมน้ํา (watershed) หมายถึง พื้นที่รับน้ําตามธรรมชาติ จากฝนที่ตกลงใน
พื้นที่นั้นแลวไหลลงสูที่ต่ํา ไปรวมตัวกันเปนลําน้ําสายเล็กและไหลรวมตัวกันลงสูลําน้ําสายใหญ จนใน
ที่สุดไหลออกจากพื้นที่ลุมน้ําที่จุดหนึ่งของลําน้ํา ขอบเขตพื้นที่ลุมน้ํากําหนดไดดวยแนวเสนสันปนน้ําที่
เริ่มตรงจุดไหลออกของลุมน้ําแลวแผครอบคลุมทั้งสองดานของลําน้ําไปจนถึงตนน้ําลําธาร ขนาดของ
พื้นที่ลุมน้ําจะใหญขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเลื่อนจุดไหลออกไปทางทายน้ํา จนในที่สุดพื้นที่ลุมน้ําจะใหญที่สุดที่
จุดไหลออกสูทะเล สําหรับประเทศไทยแบงลุมน้ําออกเปน 25 ลุมน้ําหลัก และ 254 ลุมน้ําสาขา
โดยใชสันปนน้ําทั้งที่เปนธรรมชาติและสิ่งที่มนุษยสรางขึ้นเปนเสนแบง เพื่อการบริหารจัดการน้ํา
(กรมทรัพยากรน้ํา, 2554)
ลุมน้ําที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ เปนลักษณะเขตพัฒนาที่ดินลุมน้ํา เพื่อกําหนดแผนแมบท
แผนการใชที่ดินพื้นที่ลุมน้ําที่ตองดําเนินการเพื่อฟนฟู อนุรักษ ปรับปรุง เพื่อศึกษาพื้นที่ตัวแทนสภาพ
ปญหาทรัพยากรดานตาง ๆ ของพื้นที่ลุมน้ํา และใหสอดคลองกับแนวทางตามพระราชบัญญัติพัฒนา
ที่ดินพุทธศักราช 2551 ซึ่งเปนกฎหมายที่ใหอํานาจกรมพัฒนาที่ดินเขาไปดําเนินการพัฒนาที่ดินใน
พื้นที่ตาง ๆ ไดอยางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เปนกลไกสําคัญในการปองกันและแกไขปญหา
ทรัพยากรดิน การเสื่อมโทรมและการพังทลายของดิน และเพื่อใหเห็นภาพรวมของการพัฒนาที่ดินใน
เชิงพื้นที่ กรมพัฒนาที่ดินจึงมีนโยบายใหดําเนินการจัดทําเขตพัฒนาที่ดินในกรอบของพื้นที่ลุมน้ําเขต
พัฒนาที่ดินขึ้น
รูปแบบของการระบายน้ํา (drainage pattern) รูปแบบของการระบายน้ํา หมายถึง
ลักษณะการระบายน้ําของระบบลําธารและลําน้ําที่ปรากฏอยูในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจมีรูปแบบ
เปนเสนตรง มุมโคง และอื่น ๆ ซึ่งขึ้นอยูกับลักษณะทางธรณีวิทยาหรือภูมิประเทศบริเวณนั้น ๆ
ที่ประกอบกันเปนพื้นที่ลุมน้ํา จากโครงสรางของหิน ขบวนการทางธรณีวิทยา ชนิดของหินที่รองรับ
สภาวะของภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศ สามารถจําแนกรูปแบบของการระบายน้ําที่สําคัญและมี
อิทธิพลตอระบบอุทกวิทยา ดังนี้ (คํารณ, 2552)
1. รูปแบบทางระบายน้ําแบบกิ่งไม (dendritic drainage pattern) เปนลักษณะ
โครงขายการระบายน้ําที่ลําน้ํายอยไหลลงมารวมกันกับลําน้ําหลัก ดูคลายกับกิ่งไม หรือแบบ
เสนประสาท มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีโครงสรางหินแบบเดียวกันมีเนื้อหินสมานแนนเปนโขดเนินเขา
ใหญนอย จากการดันตัวขึ้นของหินละลาย เกิดเปนหุบเขาตอเนื่องเปนรองลึกระหวางเนินเขา
ทางระบายน้ําแบบนี้สามารถชะลอปริมาณการไหลบาของน้ํา มีการกระจายน้ําไดดี มีความสามารถใน
การกักเก็บน้ํา (storage) และปลดปลอยน้ํา (discharge) ไดมาก
2. รูปแบบทางน้ําแบบมุมฉาก (trellis drainage pattern) เปนรูปแบบการระบาย
น้ําที่ปรากฏบนลักษณะภูมิประเทศที่เปนรอยเลื่อน (fault) หรือรอยแยก (joint) ลําน้ําไหลขนานกัน
มาตามแนวรอยเลื่อนและไหลมารวมกันกับลําธารสายหลักเปนมุมฉากหรือเกือบฉาก