Page 40 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       30







                                                             บทที่ 5
                                                              สรุป


                       5.1 สรุปผลการด าเนินงาน
                              การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบ ารุงดินและเพิ่ม

                       ผลผลิตข้าว พื้นที่ต าบลพลับพลาไชย อ าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า หลังจากการไถกลบปอ
                       เทือง ในระยะออกดอกอายุประมาณ 55  วัน ลงในดินมีผลท าให้สมบัติทางเคมีของดินเกิดการ
                       เปลี่ยนแปลง  โดยมีอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นจาก 0.93  เป็น 1.65  เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่
                       เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียมเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

                       จาก 30 เป็น 56 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มขึ้นจาก 5.6 เป็น 6.2
                       ซึ่งมีผลให้การละลายของธาตุอาหารในดินละลายออกมาได้ดีขึ้น และนอกจากสมบัติทางเคมีของดินที่
                       ดีขึ้นแล้วสมบัติทางด้านกายภาพของดินยังดีขึ้นอีกด้วยโดยสังเกตจากดินมีลักษณะร่วนขึ้น ไม่จับตัว

                       เป็นก้อนแข็ง
                               ในด้านผลผลิตข้าว พบว่า หลังจากการน าเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ได้แก่  การไถกลบ
                       ปอเทือง ร่วมกับการใช้น้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 การใช้สารป้องกันแมลงศัตรูพืชโดย
                       ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 7 และการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ไปใช้ร่วมกันในการผลิตข้าว ท าให้ได้ผล
                       ผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิม 170 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 982 บาทต่อไร่ โดยเห็นได้

                       ชัดเจนว่าต้นทุนค่าปุ๋ย และค่าสารเคมีก าจัดศัตรูพืชลดลง เป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีด้านการพัฒนา

                       ที่ดิน เกษตรกรมีความพึงพอใจในผลตอบแทนที่มากขึ้น ท าให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                       5.2  ข้อเสนอแนะ
                              5.2.1  เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินควรน าเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ไปเผยแพร่

                       ประชาสัมพันธ์ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงและเกษตรกรที่สนใจได้น าความรู้ไปใช้ในการผลิตข้าว
                       ของตนเอง
                              5.2.2  ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ไว้ใช้เอง เพื่อการ

                       ด าเนินการปรับปรุงดินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะบางครั้งงบประมาณที่สถานีพัฒนาที่ดินได้
                       รับมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร
                              5.2.3  ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดินที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลทรัพยากรดินควรมีแนวทาง
                       มาตรการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ให้ด าเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องเป็นประจ าทุกๆปี
                       รวมถึงควรมีการพัฒนาเกษตรกรที่ประสบความส าเร็จในด้านการปรับปรุงดินให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ

                       ด้านการปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อเกิดการขยายผลไปยังเกษตรกรเกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป
                              5.2.4 ควรมีการเก็บข้อมูลการใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ในหลายๆ ชุดดินในจังหวัดสุพรรณบุรี
                       เพื่อเป็นข้อมูลในการด าเนินงานแก้ไขปัญหาดินและปรับปรุงบ ารุงดินต่อไป
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45