Page 38 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
28
2. ผลการทดลองในปี พ.ศ. 2557
2.1 ผลการวิเคราะห์ดิน
ส าหรับในปี พ.ศ.2557 ใช้โรงเรือนเดิมที่ใช้ในปี พ.ศ.2556 และใช้แผนการทดลองตลอดจนต ารับ
การทดลองเหมือนกับที่ใช้ในปี พ.ศ.2556 ก่อนการทดลองในปี พ.ศ.2557 ได้ท าการวิเคราะห์ดินก่อนการ
ทดลองพบว่าดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.8 ซึ่งถือว่าเป็นกรดปานกลาง มีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
5.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงมากเมื่อน ามาประเมินหาปริมาณไนโตรเจนที่ปลดปล่อยจาก
อินทรียวัตถุโดยอ้างอิงจากข้อมูลของ Ankermann and Large (n.d.) มีค่าเท่ากับ 6.89 กิโลกรัมต่อไร่ มี
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 207 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 210
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งกล่าวได้ว่าในดินมีปริมาณฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมอยูในระดับสูงมาก ดังแสดง
ไว้ในตารางที่ 12
การทดลองในครั้งนี้ท าการเก็บตัวอย่างดินและท าการวิเคราะห์ก่อนปลูกเท่านั้นไม่ได้มีการ
ด าเนินการเก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องจากขอบเขตของการศึกษาเน้นในเรื่องของอัตราปุ๋ยที่
เหมาะสมกับคุณภาพดินและความต้องการธาตุอาหารของพืชเป็นหลัก
ตารางที่ 12 ผลวิเคราะห์ดินแปลงปลูกผักกาดหวาน พ.ศ. 2557
Organic Matter Available P Exchangeable K
pH -1 -1
(%) (mg kg ) (mg kg )
5.8 5.4 207 210
ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 (2557)
2.2 น้ าหนักสดของผักหลังตัดแต่ง เศษผัก และส่วนเหนือดินทั้งหมด
การตอบสนองของผักกาดหวานที่ปลูกในปี พ.ศ. 2557 ต่ออัตราการใส่ปุ๋ยเคมีในแต่ละต ารับการ
ทดลองในแง่ของผลผลิตที่คิดเป็นน้ าหนักสดของผักหลังตัดแต่งเศษผัก และส่วนเหนือดินทั้งหมด พบว่า
เมื่อไม่มีการใส่ปุ๋ยผักกาดหวานหรือต ารับที่ 1 มีน้ าหนักสดของผักหลังตัดแต่งเศษผัก และส่วนเหนือดิน
ทั้งหมด 2,020 1,460 และ 3,480 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีมีผลท าให้น้ าหนักสดของส่วนเหนือดินของ
ผักกาดหวานสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยในช่วง 11-34 เปอร์เซ็นต์ แต่มีเฉพาะต ารับที่ 3 ที่ท าให้น้ าหนักสดของ
ส่วนเหนือดินแตกต่างจากต ารับที่ 1 ซึ่งไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยส าคัญในทางสถิติ ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมี
ต ารับอื่น ๆ ท าให้น้ าหนักสดของส่วนเหนือดินไม่แตกต่างจากต ารับที่ 1 และไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยต ารับ
ที่ 3 ส าหรับน้ าหนักผักหลังตัดแต่งและน้ าหนักเศษผัก พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีทุกต ารับให้ผลไม่แตกต่างกับ
ต ารับที่ 1 อย่างมีนัยส าคัญ แต่มีแนวโน้มท าให้ผักหลังการตัดแต่งสูงกว่าขึ้นในช่วง 7-32 เปอร์เซ็นต์ ส่วน
น้ าหนักสดของเศษผักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 16-52 เปอร์เซ็นต์ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 13