Page 23 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. ผลการทดลองในปี พ.ศ. 2556
1.1 ผลการวิเคราะห์ดิน
ผลการวิเคราะห์ดินในโรงเรือนที่ใช้ในการทดลองในปี พ.ศ. 2556 พบว่าดินในโรงเรือนเป็นดิน
เหนียวละเอียด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.54 ซึ่งจัดว่าเป็นกรดเล็กน้อย มีอินทรียวัตถุ 4.6 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งจัดว่ามีอยู่ในระดับสูงมาก มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 190 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและ
โปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 171 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งกล่าวได้ว่าในดินมีปริมาณฟอสฟอรัสและ
โปแตสเซียมอยูในระดับสูงมาก ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1
ส าหรับการทดลองในครั้งนี้ท าการเก็บตัวอย่างดินและท าการวิเคราะห์ก่อนปลูกเท่านั้นไม่ได้มีการ
ด าเนินการเก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องจากขอบเขตของการศึกษาเน้นในเรื่องของอัตราปุ๋ยที่
เหมาะสมกับคุณภาพดินและความต้องการธาตุอาหารของพืชเป็นหลัก
ตารางที่ 1 ผลวิเคราะห์ดินแปลงปลูกผักกาดหวาน พ.ศ. 2556
Organic Matter Available P Exchangeable K
pH -1 -1
(%) (mg kg ) (mg kg )
6.54 4.6 190 171
ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 (2556)
1.2 น้ าหนักสดของผักหลังตัดแต่ง เศษผัก และส่วนเหนือดินทั้งหมด
น้ าหนักสดของผักหลังตัดแต่ง น้ าหนักเศษผัก และน้ าหนักของส่วนเหนือดินทั้งหมด พบการ
ตอบสนองของผักกาดหวานต่ออัตราปุ๋ยทั้ง 6 ต ารับการทดลอง คือ เมื่อไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี (ต ารับที่ 1)
ผักกาดหวานที่ปลูกบนดินในโรงเรือน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ให้น้ าหนักสดของส่วนเหนือ
ดินทั้งหมด 2,580 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นผักสดหลังการตัดแต่ง 1,900 กิโลกรัมต่อไร่ และเศษผัก 680
กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยต ารับที่ 2 มีผลท าให้น้ าหนักสดของส่วนเหนือดินทั้งหมดเพิ่มขึ้น 69 เปอร์เซ็นต์
น้ าหนักผักหลังตัดแต่งเพิ่มขึ้น 68 เปอร์เซ็นต์ และการใส่ปุ๋ยต ารับที่ 3 มีผลท าให้น้ าหนักสดของส่วนเหนือ
ดินทั้งหมดเพิ่มขึ้น 63 เปอร์เซ็นต์ และน้ าหนักผักหลังการตัดแต่งเพิ่มขึ้น 73 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติทั้งสองต ารับ ส าหรับการใส่ปุ๋ยต ารับที่ 4 5 และ 6 แม้จะท าให้น้ าหนักสดของ
ส่วนเหนือดินเพิ่มขึ้น 21 24 และ 29 เปอร์เซ็นต์ และน้ าหนักสดของผักหลังการตัดแต่งเพิ่มขึ้น 29 24
และ 26 เปอร์เซ็นต์ตามล าดับเมื่อเปรียบเทียบกับต ารับที่ 1 แต่ความแตกต่างระหว่างการใช้ปุ๋ยทั้ง 3
ต ารับตลอดจนความแตกต่างของการใช้ปุ๋ยต ารับที่ 4 5 และ 6 กับต ารับที่ 1 ก็ไม่มีนัยส าคัญในทางสถิติ
นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยต ารับที่ 4 5 และ 6 ยังไม่แตกต่างจากต ารับที่ 3 ในทางสถิติ ในแง่ของน้ าหนักสดของ