Page 14 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         5


                   ที่วัดได้ก็ยิ่งต่ ามากความเป็นกรดของดินก็จะยิ่งสูงและเมื่อธาตุอาหารพวกไอออนบวกที่เป็นด่างของดิน

                   เหล่านี้ถูกชะล้างออกไปจากดินไอออนบวกที่เป็นด่างเหล่านนี้ก็จะถูกแทนที่ด้วยไอออนบวกที่เป็นกรด
                   โดยเฉพาะอะลูมินัมไอออน ท าให้ดินที่มีความอิ่มตัวด้วยอะลูมินัมมากขึ้นค่าความอิ่มตัวด้วยอะลูมินัม

                   (aluminum  saturation)  จึงเป็นตัวชี้วัดระดับความรุนแรงของความเป็นกรดของดินได้ดีคือเมื่อมีความ
                   อิ่มตัวด้วยอะลูมินัมต่ ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์   จัดเป็นดินประเภทที่มีความเป็นกรดน้อยในระดับ

                   40-70 เปอร์เซ็นต์ จัดเป็นดินที่มีความเป็นกรดปานกลางและสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ จัดเป็นดินที่มีความ

                   เป็นกรดจัด (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
                          สาเหตุของความเป็นกรดของดินอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากทั้งกระบวนการทางธรรมชาติและ

                   กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น เกิดจากการสลายตัวผุพังและการชะล้าง เมื่อมีการชะล้างสูง
                   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชุ่มชื้นที่มีปริมาณน้ าฝนมาก สภาพความเป็นกรดของดินจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก

                   มีการชะล้างมาก และยังมีสาเหตุของกระบวนการด้านการผุพังของอินทรียวัตถุระหว่างการสลายตัวของ

                   อินทรียวัตถุจะปลดปล่อยทั้งกรดอินทรีย์ และอนินทรีย์ซึ่งจะมีผลท าให้เพิ่มความเป็นกรดแก่ดิน
                   และอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดดินกรดได้คือการปลูกพืชและการใส่ปุ๋ยในการเกษตร โดยพืชจะดูดใช้

                   แคทไอออนที่เป็นด่างในอัตราสูงจึงท าให้เปอร์เซ็นต์การอิ่มตัวด้วยด่าง ลดลงท าให้ค่า pH  ของดินต่ าลง
                   นอกจากนั้นการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม มีอิทธิพลอย่างมากต่อการลดลงของค่า pH ของดิน

                   และยังมีธาตุอื่น ๆ ที่อาจท าปฏิกิริยากันแล้วส่งผลให้เกิดดินกรดเช่นสารประกอบที่มีธาตุก ามะถันเป็น

                   องค์ประกอบจะท าให้เกิดกรดก ามะถันและท าให้ดินเพิ่มความเป็นกรดอย่างรุนแรงได้ (ไพบูลย์, 2530)
                          ส าหรับวัสดุปรับปรุงดินกรด ดินเปรี้ยวจัด และดินอินทรีย์ เป็นวัสดุปูนที่มีธาตุแคลเซียมหรือ

                   แคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบมีคุณสมบัติเป็นด่าง สามารถลดความรุนแรงของความเป็นกรด
                   ของดินได้และยังช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม

                   ในดินช่วยลดโรครากเน่าโคนเน่าของพืชและช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินได้อีกทางหนึ่ง และท า

                   ให้ดินร่วนซุยการระบายน้ าและการถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น วัสดุปูนที่ใช้ในการเกษตรมีหลายชนิดมีคุณภาพ
                   ต่างกัน เช่น ปูนมาร์ล หินปูนบด แคลไซต์ โดโลไมท์ ปูนเผา ปูนขาว เป็นต้น การเลือกชื้อปูนทาง

                   การเกษตรควรเลือกที่มีขนาดละเอียดมีค่าสามารถแก้ความเป็นกรดได้สูงมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
                   สูงกว่า 8.0 และหาซื้อได้ง่ายในพื้นที่ควรเลือกชนิดของปูนที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกและปริมาณที่ใช้ในการ

                   ปรับปรุงสภาพความเป็นกรดของดินควรใช้ตามผลวิเคราะห์ค่าความต้องการปูน จึงจะเกิดการใช้ปูนแก้ไข

                   ความเป็นกรดของดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการโดยทั่วไปจะใช้จะใช้ปูนในอัตรา
                   300 – 500 กิโลกรัมต่อไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)

                          บทบาทสถานภาพของธาตุบางชนิดที่เกิดในดินกรด ธาตุบางชนิดจะมีการละลายออกมามากท า
                   ให้เป็นพิษต่อพืช เช่น อะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส โดยเฉพาะธาตุอะลูมินัมเป็นธาตุที่มีปริมาณอยู่มากบน

                   พื้นผิวโลก เมื่อดินเป็นกรดจะส่งผลถึงค่า pH   ของสารละลายดินจะบ่งบอกถึงปริมาณอะลูมินัม

                   ในสารละลายดินได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในดินกรดที่มีอะลูมินัมเป็นสารประกอบอยู่ในดินมากจึงเป็น
                   ตัวชี้วัดความรุนแรงของความเป็นกรดของดินได้เป็นอย่างดี และดินกรดยังเป็นสาเหตุท าให้ธาตุอาหารพืช

                   บางชนิดขาดแคลนหรือถูกตรึงไว้ในดิน พืชไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19