Page 13 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4


                   โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อดูว่าส่วนประกอบ

                   เหล่านั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้นได้อย่างแท้จริง การสังเคราะห์
                   (synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อยเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอัน

                   เดียวกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อนอันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิด
                   สร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่ก าหนดให้การประเมินผล (evaluation)  เป็นความสามารถในการ

                   ตัดสินเกี่ยวกับความคิด ผลงาน ค าตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างโดยมีการ

                   ก าหนดเกณฑ์เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดที่ต้องใช้ความรู้
                   ความเข้าใจในการน าไปปรับใช้ (นรินทร์ชัย, 2542)


                          1.2 ความหมายของการปฏิบัติ
                          นักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของการปฏิบัติไว้ดังนี้ การปฏิบัติหมายถึง วิธีการ

                   แสดงออกที่แสดงถึงความรู้ ทัศนคติ ตลอดจนการกระท าต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายที่ว่า

                   การปฏิบัติคือการกระท าหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมอง อารมณ์ ความคิดและความรู้สึกเกี่ยวข้องกับ
                   ความต้องการและความรู้สึกนึกคิด เป็นผลมาจากการตอบสนองสิ่งเร้า และปฏิกิริยาการกระท าหรือ

                   พฤติกรรมการสนองตอบต่อสิ่งเร้าที่สามารถมองเห็นได้เมื่อบุคคลอื่นได้รับรู้ซึ่งอาจจะได้รับมาจากการฟัง
                   การอ่าน หรือการมองเห็นจะท าให้บุคคลพยายามที่จะท าความเข้าใจกับความรู้นั้น และจะน าความรู้ที่ได้

                   ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ เพื่อท าความเข้าใจในแต่ละส่วนของ

                   สถานการณ์เพื่อสามารถมองเห็นความสัมพันธ์อย่างแน่ชัดระหว่างส่วนประกอบแล้วน าส่วนประกอบนั้นมา
                   รวมกัน โดยน าเอาความรู้ที่มีอยู่เดิมมารวมกับความรู้ใหม่ที่ได้รับแล้วน ามาเป็นแผนปฏิบัติ และความหมาย

                   ของการปฏิบัติยังรวมไปถึงสิ่งที่มนุษย์รับทราบถึงการปฏิบัติของกิจกรรมต่าง ๆ ต้องเริ่มจากความพยายาม
                   จะเลียนแบบ (imitation)  แล้วควบคุมให้เป็นไปตามแบบที่เห็น (manipulation)    ท าให้ถูกต้องให้มาก

                   (precision)    แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน (articulation)  จากนั้นก็ฝึกหัดจนปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ
                   (naturalization)  ซึ่งแบ่งกระบวนการออกเป็น 5 ขั้นตอน คือขั้นรู้ ขั้นสนใจ ขั้นไตร่ตรองตัดสินใจ

                   ขั้นทดลองปฏิบัติ และขั้นยอมรับไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ซึ่งตรงกับกระบวนการยอมรับในการส่งเสริม

                   การเกษตร 5 ขั้นตอนเหมือนกัน คือตื่นตัว สนใจ ไตร่ตรอง ลองท า น าไปใช้ (ประภาเพ็ญ, 2520)

                   2. ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบ ารุงดิน และปัญหาดินกรด

                          การปรับปรุงบ ารุงดินเป็นการจัดการดินเพื่อมุ่งท าให้ดินอยู่ในสภาพที่เหมาะสมส าหรับพืชที่
                   ต้องการปลูก ฉะนั้นในดินเดียวกันหากมีการปลูกพืชต่างชนิดกันอาจมีรายละเอียดในการปรับปรุงบ ารุงดิน

                   ที่ไม่เหมือนกัน และการปรับปรุงบ ารุงดินแบ่งได้เป็นการปรับปรุงบ ารุงดินทางด้านกายภาพและการ

                   ปรับปรุงดินทางด้านเคมี และการรักษาดินด้วยระบบการปลูกพืช (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)
                          ดินกรดเป็นดินที่มีปริมาณธาตุประจุบวกที่แลกเปลี่ยนได้ส่วนใหญ่จะเป็นไฮโดรเจนไอออนหรือ

                   ไฮเดรตเต็ดอะลูมินัมไอออนในรูปต่าง ๆ ซึ่งเมื่อธาตุประจุบวกที่เป็นกรดเหล่านี้แตกตัวออกมาจากดินที่

                   ดูดซับไว้ก็จะให้อนุมูลอิสระของไฮโดรเจนออกมาในสารละลายดินท าให้ pH ของดินที่วัดได้มีค่าต่ ากว่า 7
                   ยิ่งมีการแตกตัวออกมามากปริมาณอนุมูลอิสระของไฮโดรเจนในสารละลายดินก็ยิ่งมีมากค่า pH ของดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18