Page 12 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3


                                                      การตรวจเอกสาร


                          การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และวิธีการปฏิบัติของเกษตรกรต่อการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อ
                   ปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรของหมอดินอาสาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ศึกษาได้รวบรวมแนวคิด

                   และทฤษฎี  ตลอดจนผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา  โดยแบ่งออกเป็น

                   4 ประเด็น ดังนี้


                   1.ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ และการปฏิบัติ

                          1.1 ความหมายของความรู้ความเข้าใจ
                          พจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้กล่าวว่า ค าว่า “รู้”  หมายถึง แจ้ง

                   เข้าใจ ทราบ ส่วนค าว่า “เข้าใจ”  นั้นหมายถึง รู้เรื่อง รู้ความหมาย นอกจากนี้นักวิชาการท่านต่าง ๆ ให้
                   ความหมายของความรู้ความเข้าใจไว้ดังนี้

                          ความรู้  เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจ าได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดย

                   การมองเห็น การได้ยิน การจ าได้ ซึ่งความรู้ยังมีความหมายสอดคล้องกับเรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงเฉพาะ
                   เรื่อง หรือ เรื่องทั่วไประลึกถึงวิธีการและกระบวนการต่าง ๆ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยา

                   ของความจ า  และความรู้ยังหมายถึงการรับรู้ เข้าใจ แยกแยะ วิเคราะห์ และประเมินได้ในใจ ดังนั้นจะมี
                   ความรู้ได้ดีต้องมีความรู้ใคร่ครวญจนเข้าใจและประเมินได้ว่าสิ่งใดเหมาะสมสิ่งไดไม่เหมาะสมแต่จะยังไม่

                   เคยลงมือปฏิบัติเท่านั้น และความรู้ยังมีความหมายรวมไปถึง ความสามารถในการรับ จดจ า และใช้ข้อมูล
                   ด้วยความเข้าใจ ประสบการณ์ ความสามารถในการตัดสินใจ และความช านาญ (ประภาเพ็ญ, 2526)

                          จากความหมายของความรู้ดังกล่าวสรุปได้ว่า ความรู้ คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้รับจาก

                   การศึกษา ค้นคว้า หรือสังเกต และรวบรวมเป็นความจ าเก็บสะสมไว้ แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ระลึก
                   ได้หรือสิ่งที่จ าออกมาให้ปรากฏ สังเกตได้และวัดได้  โดยอาศัยความสามารถและทักษะทางสติปัญญา และ

                   กลุ่มนักวิชาการยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ของคนว่าประกอบด้วยความรู้ในระดับต่าง ๆ ไว้คือ

                   ความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension)         การน าไปปรับใช้
                   (application)  การวิเคราะห์ (analysis) การสังเคราะห์ (synthesis) และการประเมินผล (evaluation)

                   สามารถอธิบายรายละเอียดไว้คือ
                          ความรู้ (knowledge)  หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจ าและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุและ

                   ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจ าที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ไปจนถึงความจ าในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมี
                   ความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ด้านความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension)  เป็นความสามารถ

                   ทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจ า ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล ความสามารถใน

                   การแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การน าไปปรับใช้ (application)  เป็น
                   ความสามารถในการน าความรู้ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาโดยการใช้ ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                   วิธีการจับความคิดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความ

                   สิ่งนั้น การวิเคราะห์ (analysis)  เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการน าไปปรับใช้
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17