Page 10 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1


                                                     หลักการและเหตุผล


                          หมอดินอาสา เป็นเกษตรกรที่สนใจงานด้านการพัฒนาที่ดินและสมัครใจเข้ามาเป็นอาสาสมัคร
                   ของกรมพัฒนาที่ดิน มีความพร้อมที่จะท างานด้านการเกษตร และน าเทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนา

                   ที่ดินไปปรับใช้ในพื้นที่ท าการเกษตรของตนเอง และน าความรู้ต่าง ๆ ในด้านการพัฒนาที่ดินไปถ่ายทอดแก่

                   เกษตรกรทั่วไปในชุมชนของตนเอง โดยมีหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนภารกิจของกรมพัฒนาที่ดินเป็นผู้
                   ประสานงานระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งยังเป็นผู้ด าเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ

                   ตามที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาที่ดิน หมอดินอาสาจึงเป็นผู้รับและแจ้งความรู้ข่าวสาร
                   จากกรมพัฒนาที่ดินไปสู่เกษตรกรทั่วไป ด้านการปรับปรุงบ ารุงดิน การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน และวิธีการ

                   แก้ปัญหาเรื่องดินในพื้นที่การท าการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)

                          ปัญหาดินกรดเป็นปัญหาของดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือเรียกว่าค่า (pH)  ของดิน
                   ต่ ากว่า 7 และดินกรดที่เป็นปัญหาของการท าการเกษตร คือ ดินกรดที่มีค่า pH  ต่ ากว่า 5.5 ส าหรับ

                   ดินกรดในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั่วประเทศประมาณ 140 ล้านไร่ และพบมากในภาคเหนือ
                   และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นต้น ดินกรดที่พบส่วนใหญ่จะมีการสะสมของธาตุเหล็ก ธาตุอะลูมินัม

                   หรือธาตุแมงกานีสออกไซค์ เกิดขึ้นในดิน โดยดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                   จึงจ าเป็นต้องมีวิธีการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชให้มีมากยิ่งขึ้นและในพื้นที่
                   ท าการเกษตรของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัญหาดินกรดเป็นปัญหาส าคัญที่ส่งผลกระทบต่อการท าการเกษตร

                   ของเกษตรกรโดยตรง และเป็นปัญหาที่ต้องได้รับค าแนะน าและวิธีการแก้ไขอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
                   เพื่อให้เกษตรกรสามารถแก้ปัญหาดินกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เจริญ และคณะ, 2540 )

                          จากปัญหาดังกล่าว ท าให้ต้องมีการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตร ซึ่ง

                   สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน เป็นหน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                   มีหน้าที่ในการส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า การปรับปรุงบ ารุงดินให้เหมาะสมในการท าการเกษตรได้

                   มีการสนับสนุนปูนโดโลไมท์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อน าไปใช้ในการปรับปรุงดินกรด
                   ในพื้นที่ท าการเกษตรของเกษตรกร อย่างต่อเนื่องทุกปีได้ท าการแจกจ่ายให้กับเกษตรกรทุกอ าเภอใน

                   จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดสรรปูนโดโลไมท์เพื่อน าไปใช้ในการปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรของ

                   หมอดินอาสาและเกษตรกรทั่วไปโดยกระจายข่าวสาร และความรู้ด้านการปรับปรุงดินกรดผ่าน
                   หมอดินอาสาที่มีประจ าอยู่ทุกหมู่บ้านเพื่อให้เกษตรกรทั่วไปได้ทราบถึงวิธีการใช้ปูนโดโลไมท์ให้ถูกต้องตาม

                   หลักวิชาการ
                          ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติของหมอดินอาสาต่อ

                   การใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งหมอดินอาสาเป็น

                   บุคคลที่ท าหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรทั่วไปที่จะน านวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน
                   และความรู้ด้านการปรับปรุงบ ารุงดินไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรทั่วไป ดังนั้นหมอดินอาสาจึงต้องเป็นคนที่มี

                   ความรู้งานในด้านการพัฒนาที่ดินในเบื้องต้นและสามารถน าไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรทั่วไปได้อย่างถูกต้อง
                   ตามหลักวิชาการ โดยการศึกษาครั้งนี้จะศึกษาในด้านความรู้และวิธีการปฏิบัติในเรื่องการปรับปรุงดินกรด
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15