Page 15 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6


                   ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และยังมีกลุ่มของจุลธาตุที่ละลายน้ าได้ง่ายและพืชสามารถน าไปใช้เป็น

                   ประโยชน์ได้ดีภายใต้สภาพของดินที่เป็นกรดมาก ๆ มักจะมีจุลธาตุอาหารพวกนี้ละลายอยู่ในดินมากจน
                   บางครั้งมากเกินไปจนเกิดเป็นพิษกับพืชโดยเฉพาะพืชพันธ์ที่ไม่ทนต่อสารพิษแต่ในดินที่เป็นกรดที่มีการ

                   ชะล้างสูงมักจะเกิดการขาดจุลธาตุอาหารมากกว่า เนื่องจากเป็นดินที่มีธาตุอาหารในดินน้อยมากที่จะ
                   น าไปใช้ในการเจริญเติบโตของพืช การชะล้างในดินกรดท าให้เกิดการสูญเสียจุลธาตุอาหารได้ง่ายกว่า

                   เพราะจุลธาตุส่วนใหญ่ละลายได้ดีในสภาพที่เป็นกรด ยกเว้นโมลิบดินัม เมื่อเกิดการชะล้างก็จะเกิดการ

                   สูญเสียได้เร็วท าให้พืชแสดงอาการขาดจุลธาตุ ทั้งนี้ดินกรดยังส่งผลต่อการเกิดโรคกับพืชโดยเฉพาะเชื้อรา
                   ที่เจริญได้ดีในดินกรดเป็นสาเหตุของโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)


                          ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH)  ของดินกับความเป็นประโยชน์ของธาตุ
                   อาหารพืช ความเป็นกรดจัดมาก ๆ มีผลท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหารพืชในดินท าให้ธาตุ

                   อาหารบางชนิดมีการละลายเพิ่มมากขึ้นหรืออาจลดปริมาณลงได้ โดยพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วง

                   pH 5.5 – 7.0 ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารต่าง ๆ ละลายออกมาอย่างเหมาะสม ดังแสดงไว้ในภาพที่ 1















                   ภาพที่ 1  ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินกับความเป็นประโยชน์ของ

                            ธาตุอาหารพืช  ที่มา : สุรชัย (2537)


                   3. การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
                          การใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถสรุปพื้นที่การใช้ประโยชน์ตามกิจกรรมต่าง ๆ

                   โดยแยกเป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ท าการเกษตร และพื้นที่นอกภาคการเกษตร (ตารางที่ 1)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20