Page 9 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         0


                   ชื่อโครงการ      ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ท า
                                  การเกษตรของหมอดินอาสา จังหวัดแม่ฮ่องสอน

                                  Factors Effecting  Knowledge and  Practice  In Using  Dolomitic  Limestone
                                  to  Improve  Acid  Soil  of  Volunteer  Soil  Doctors’  Land,  Mae  Hong  Son
                                  Province.

                   ผู้ด าเนินการ  นายจอมพล กฤษณสุวรรณ  Mr.Jompol Kisanasuwan


                                                          บทคัดย่อ


                          การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติของหมอดินอาสาต่อการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อ

                   ปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ
                   ความรู้และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรดของหมอดินอาสาในพื้นที่

                   จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อการปรับปรุงดินกรดของ
                   หมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หมอดินอาสาในพื้นที่

                   ทั้งหมด 7 อ าเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จ านวน 204 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
                   แบบสอบถามเพื่อน าไปสอบถามหมอดินอาสา ซึ่งเป็นค าถามปลายปิด และค าถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการ

                   วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่า

                   ต่ าสุด ทดสอบสมมุติฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย
                   พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยได้ก าหนดปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติ

                   ในการใช้ปูนโดโลไมท์ของหมอดินอาสาในการศึกษาไว้ 8 ปัจจัยได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้

                   ทั้งหมดของครัวเรือน ขนาดพื้นที่ท าการเกษตร ประสบการณ์ในการใช้ปูนโดโลไมท์ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่
                   และการได้รับการฝึกอบรม เริ่มด าเนินการศึกษา เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2561


                           จากการศึกษาความรู้ในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรของหมอดิน
                   อาสาพบว่า หมอดินอาสาส่วนใหญ่ร้อยละ 92.65  มีความรู้อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ย 14.36 คะแนน

                   จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน ด้านการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตร
                   ของหมอดินอาสา พบว่าหมอดินอาสาส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเป็นบางครั้ง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.11 คะแนน

                   จากคะแนนเต็ม 2.00 คะแนน และผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ คือ ระดับการศึกษา

                   และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ โดยปัจจัย 2 ตัวนี้มีผลต่อการแปรผันหรือเปลี่ยนแปลงของความรู้ คิดเป็นร้อยละ
                   37.50 มีผลอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หรือต่ ากว่า ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติ คือ รายได้

                   ทั้งหมดของครัวเรือน ประสบการณ์การใช้ปูนโดโลไมท์ และการได้รับการฝึกอบรม โดยปัจจัย 3 ข้อนี้มีผลต่อ
                   การแปรผันหรือการเปลี่ยนแปลงของการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 27.80 มีผลอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ

                   0.05 หรือต่ ากว่า และด้านปัญหาและความต้องการที่หมอดินอาสาระบุมากที่สุด คือต้องการให้ทบทวน

                   วิธีการใส่ปูนโดโลไมท์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีความต้องการให้มีการจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม
                   และจัดสาธิตวิธีการใช้ปูนโดโลไมท์แก่หมอดินอาสาและกลุ่มเกษตรกรทั่วไปก่อนการน าปูนไปใช้ในพื้นที่ท า

                   การเกษตรของตนเอง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14