Page 18 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         9


                   ดินโดยการคลุมดินทั้งการใช้เศษซากพืชการปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียนการสร้างสิ่งกีดขวาง

                   เพื่อลดความรุนแรงของกระแสน้ า และการสร้างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าต่างๆ
                          4.4 ปรับปรุงเพื่อลดความเป็นกรดของดินใต้ชั้นไถพรวน (ลึกมากกว่า 15 เซนติเมตร) เนื่องจาก

                   ดินล่างมักเป็นกรดจัดจนท าให้รากพืชไม่สามารถแผ่ลงไปได้การใช้น้ าและธาตุอาหารพืชในดินล่างจึงถูก
                   จ ากัดการใช้วัสดุปูนมักไม่ได้ผลเนื่องจากวัสดุปูนมีการละลายและเคลื่อนลงไปในดินล่างได้น้อยจึงต้องมี

                   การใช้วัสดุปูนให้ถูกต้องและอาจใช้วัสดุอื่น เช่น ยิปซัม หรือฟอสโฟยิปซั่ม ที่มีคุณสมบัติในการละลายและ

                   สามารถซึมลงไปในดินล่างเพื่อช่วยลดความเป็นพิษของอะลูมินัมได้ดี (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)
                          ส าหรับปูนที่ใช้ประโยชน์เฉพาะในด้านการเกษตรเพื่อปรับปรุงดิน หมายถึง วัสดุสารประกอบที่มี

                   ธาตุแคลเซียม  (Ca)  หรือแคลเซียมและแมกนีเซียม  (Ca  +  Mg)   เป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ปูนมี
                   คุณสมบัติเป็นด่าง  ซึ่งสามารถลดความเป็นกรดหรือความเปรี้ยวของดินได้ เช่น  ปูนสุก ปูนขาว  หินปูน

                   (คัลไซต์ และโดโลไมท์) ปูนมาร์ล เปลือกหอย และผลพลอยได้ต่าง ๆ รวมทั้งตะกรันและวัสดุอื่น ๆ ในการ

                   พิจารณาว่าดินในขณะนั้นมีความจ าเป็นต้องใส่ปูนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพของความเป็นกรด – ด่าง
                   ของดินหากพบว่าดินมีสภาพเป็นกรด ดินกรดจัด หรือดินเปรี้ยวจัด  (pH  ต่ า)  ควรท าการใส่ปูน เนื่องใน

                   สภาพความเป็นกรดจะท าให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารพืช อาทิ เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส อีกทั้ง
                   หากพบว่าดินที่อยู่ในสภาพที่เป็นกรดจัดจะมีธาตุอะลูมินัมละลายออกมาจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูกส่งผลให้

                   พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ า ดังนั้นการใช้วัสดุปูนเพื่อการเกษตรปรับปรุงดินดังกล่าวจึงเป็นวิธีการ

                   แก้ไขที่สะดวกรวดเร็วและลงทุนต่ านอกจากนั้นปูนดังกล่าวจะช่วยแก้ไขความเป็นกรดของดินแล้วยังช่วย
                   เพิ่มธาตุอาหารแคลเซียมและหรือแมกนีเซียม  เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารบางชนิดในดิน

                   เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์และยังช่วยเสริมกิจกรรมทางด้านชีวภาพอีกด้วย และปูนยัง
                   ช่วยยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้นลดความรุนแรงของกรดและลดผลเสียโดยทางอ้อมอันเนื่องมาจากความ

                   เป็นกรดนั้น ปูนจะช่วยท าให้เกิดความสมดุลของธาตุอาหารต่าง ๆ  ที่มีอยู่ในดินและยังเพิ่มความเป็น

                   ประโยชน์ของธาตุอาหารพวกไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  แคลเซียม  แมกนีเซียม  ซิลิกา โมลิบดินัม ทั้งยัง
                   ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินบางชนิดให้ดีขึ้นท าให้ดินเหนียวร่วนขึ้นท าให้การถ่ายเทน้ าออกไปจาก

                   ช่องอากาศ  และการอุ้มน้ าในช่องว่างขนาดเล็กมีมากขึ้นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและช่วยใน
                   กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และการใส่ปูนยังจะช่วยลดการเกิดอาการโรคเน่าโคนเน่าของ

                   พืช รวมถึงควบคุมปริมาณกรดอินทรีย์  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ความเข้มข้นของเหล็ก  อะลูมินัม

                   ตลอดจนสารพิษต่าง ๆ เช่น ไพไรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ในสารละลายดินมิให้มีการสะสมมากเกินไปจน
                   เป็นพิษและส่งผลต่อการเจริญเติบโตกับพืชที่ปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)

                          ในการใส่ปูนลงไปในดินให้มีประสิทธิภาพนั้นควรให้ปูนท าปฏิกิริยาในดินก่อนปลูกพืช  ปูนที่มี
                   อนุภาคละเอียดมาก ๆ  ถ้าใส่ในดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชจะใช้เวลาในการท าปฏิกิริยาประมาณ  1-2

                   สัปดาห์และควรมีการไถหรือคราดดินเพื่อให้ปูนคลุกเคล้ากับดินให้ทั่วและเพิ่มความชื้นในดินเพื่อให้ปูนท า

                   ปฏิกิริยากับดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการใส่ปูนเพื่อยกระดับ  pH  ของดินให้สูงขึ้นควรจะท าอย่าง
                   ค่อยเป็นค่อยไป  คือไม่จ าเป็นต้องใส่ปูนในปริมาณที่จะยกระดับ  pH  ให้สูงขึ้นตามที่ต้องการโดยใส่เพียง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23