Page 61 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       51







                                  จากตารางที่ 15  การทดสอบเงื่อนไขของ Multiple Regression Analysis พบว่า ชนิดพืช
                       ที่ปลูกและการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และน้ าหมักชีวภาพ ไม่เกิดปัญหา Multicollinearity
                       เนื่องจาก Tolerance มีค่ามากกว่า 0.1 ทุกตัวแปร และค่า VIF  มีค่าน้อยกว่า 10 ทุกตัวแปร  โดย
                       พบว่า มีเพียงชนิดของพืชที่ปลูกเท่านั้นที่สามารถได้รับการคัดเลือกเข้ามาสร้างสมการเพื่อการ

                       พยากรณ์ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการผ่านการรับรอง PGS  ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐาน สามารถ
                       น ามาเขียนเป็นสมการเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่มีต่อการผ่านการรับรอง PGS
                       ได้ดังนี้
                              การผ่านการรับรอง PGS (Y) = 2.512 + 0.451 (การปลูกพืชผสมผสาน :X1) + 0.358 (การ

                       ปลูกข้าว : X2) + 0.247 (การปลูกไม้ผล : X3) + 0.175 (การปลูกสมุนไพร : X4) + 0.122 (การปลูก
                       พืชผัก :X5)
                              จากสมการสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้  การปลูกพืชผสมผสาน เป็นปัจจัยที่มี
                       ความสัมพันธ์กับการผ่านการรับรอง  PGS มากที่สุด (B  =  0.451) รองลงมา คือ ข้าว (B  =  0.358)

                       ไม้ผล (B = 0.247) สมุนไพร (B = 0.175) และพืชผัก (B = 0.122) ตามล าดับ
                                  การปลูกพืชแบบผสมผสานจะเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผ่านการรับรอง PGS
                       มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากการปลูกพืชแบบผสมผสานนั้น จะมีความสอดคล้องกับหลักการในการท า

                       เกษตรอินทรีย์ที่กล่าวว่า การท าเกษตรอินทรีย์ คือ การเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อ
                       สร้างความสมดุลของระบบนิเวศ นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความ
                       หลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูก
                       พืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย และจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอด
                       ทั้งปี   สอดคล้องกับผลการศึกษาของรัชนี และวัลลภา (2558)  ที่พบว่า การผลิตพืชผักอินทรีย์ของ

                       เกษตรกรจะยึดหลักของความหลากหลายทางชีวภาพของพืช จะไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ใช้ปัจจัยการผลิต
                       ตามที่กรมวิชาการเกษตรก าหนด เน้นการผลิตที่มีความเกื้อกูลกับธรรมชาติและมนุษย์ ลดการพึ่งพา
                       ปัจจัยการผลิตจากภายนอก  โดยเกษตรกรจะปลูกไม้ผลควบคู่ไปกับ การปลูกผัก ซึ่งท าให้สามารถ

                       เก็บเกี่ยวผลผลิตออกจ าหน่ายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี  และขายผลผลิตได้ตามฤดูกาล  ไม้ผลที่
                       เกษตรกรปลูกได้แก่  ขนุน มะม่วง สับปะรด ส้มโอ ล าไย มะตูม ชมพู่ มะขาม กล้วย ทุเรียน  มะพร้าว
                       เงาะ มะเฟือง ฯลฯ ซึ่งจะท าการผลิตหมุนเวียนให้สามารถเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่องทุกๆ  ตลอดทั้งปี
                       ลักษณะการปลูกพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรคือการปลูกผักแบบหมุนเวียนพื้นที่  ด้วยการแบ่งที่ดิน

                       เป็นแปลง ๆ  โดยไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ าแปลงเดิม ยกเว้นการปลูกผักพื้นบ้านบางชนิดที่เป็นผัก
                       อายุยืน เช่น ผักหวาน  ฟักแม้ว  เกษตรกรจะใช้วิธีการปลูกพืชอื่นๆ  แซมในแปลง เช่น ฟักทอง
                       ฟักเขียว  กระเจี๊ยบ  พริก  เป็นต้น  นอกจากนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ณัชชา (2556) ที่ศึกษา
                       ความสัมพันธ์ของปัจจัยชนิดพืชที่ปลูกที่มีต่อปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ พบว่า

                       ชนิดพืชที่ปลูก  ได้แก่  ข้าว ผัก  ข้าวโพด  อ้อย ผลไม้ เห็ด และมันส าปะหลัง  มีความสัมพันธ์ต่อ
                       ปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05
                                  ในขณะที่ผลการศึกษายังพบว่า ชนิดพืชที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการผ่านการรับรอง  PGS
                       อย่าง มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับความมั่น 95%  ได้แก่ แตงโมและพืชตระกูลถั่ว  เนื่องจากการปลูก

                       แตงโมและพืชตระกูลถั่วในระบบเกษตรอินทรีย์จ าเป็นจะต้องดูแลการปลูกเป็นพิเศษมากกว่าการปลูกใน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66