Page 56 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       46







                              จากตารางที่ 12  การทดสอบเงื่อนไขของ Multiple  Regression  Analysis  พบว่า ข้อมูล
                       ประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกิดปัญหา Multicollinearity
                       เนื่องจาก Tolerance มีค่ามากกว่า 0.1 ทุกตัวแปร และค่า VIF มีค่าน้อยกว่า 10 ทุกตัวแปร โดยการ
                       ทดสอบเงื่อนไขของ Multiple  Regression  Analysis  หมายถึง ภาวะที่ตัวแปรในการวิจัยที่เป็นตัว

                       แปรต้น (ตัวแปรอิสระ) มีความสัมพันธ์กันสูงมาก และมีผลเสียต่อการวิเคราะห์ถดถอย ท าให้ผลการ
                       วิเคราะห์ข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง วิธีการตรวจสอบภาวะร่วมเส้นตรงพหุ ท าได้โดยใช้
                       โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติวิเคราะห์ตรวจสอบค่าสถิติ 2 ตัว คือ ค่าสถิติTolerance  และค่าสถิติ
                       Variance Inflation Factor (VIF)   ค่าสถิติ Tolerance หมายถึง สัดส่วนความแปรปรวนในตัวแปร

                       ที่อธิบายไม่ได้ด้วยตัวแปรตัว อื่นๆ ถ้า Tolerance มีค่าใกล้ 0 แสดงว่า ตัวเเปรนั้นมีความสัมพันธ์กับ
                       ตัวแเปรอื่น ๆ สูง ส่วนค่าที่ใกล้ 1 แสดงว่าตัวเเปรนั้นมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่น ๆ ต่ า  ในการ
                       วิเคราะห์ข้อมูล ส าหรับค่าสถิติ VIF  มีค่าเท่ากับส่วนกลับของค่า Tolerance  จึงแปรความหมาย
                       ตรงกันข้าม กล่าวคือค่า VIF  ที่สูงมาก (มีค่าสูงสุดเท่ากับ 10.0)  แสดงว่า มีภาวะร่วมเส้นตรงพหุสูง

                       มากในกลุ่มตัวแปรต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เกณฑ์ในการวัดว่าตัวแปรอิสระแต่ละคู่มีภาวะร่วมเส้นตรง
                       พหุ หรือไม่ ให้ดูที่ค่า Tolerance ควรมีค่ามากกว่า 0.1 ค่า VIF ควรมีค่าน้อยกว่า 10
                              ซึ่งจากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่

                       เข้าร่วมโครงการ  ประกอบด้วย 1)  การฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS”    2) การ
                       ฝึกอบรมหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน”  3)  การเคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       และ 4)  ระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์ สามารถได้รับการคัดเลือกเข้ามาสร้างสมการเพื่อการ
                       พยากรณ์ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการผ่านการรับรอง PGS ผลการทดสอบสมมติฐาน สามารถ
                       น ามาเขียนเป็นสมการเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่มีต่อการผ่านการรับรอง PGS

                       ได้ดังนี้
                              การผ่านการรับรอง PGS (Y) = 2.199 + 0.227 (ระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์ : X1) +
                       0.190 (การเคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฯ :  X2)  +  0.074  (การฝึกอบรมหลักสูตร

                       “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” :X3) + 0.011 (การฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS” :X4)
                              จากสมการสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้ ระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์ เป็นปัจจัย
                       ที่มีอิทธิพลต่อการผ่านการรับรอง PGS มากที่สุด (B = 0.227) รองลงมา คือ การเคยผ่านการรับรอง
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (B  =  0.190) และการฝึกอบรมหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน”

                       (B  =  0.074) และล าดับสุดท้าย คือ การฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS”
                       (B = 0.011)
                                  ปัจจัยเรื่องระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์เป็นปัจจัยที่ผลต่อการผ่านการรับรอง PGS
                       เนื่องจากเกษตรกรที่ท าเกษตรอินทรีย์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ก็จะมีความเข้าใจในเรื่องของ

                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์  เทคนิคการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ เมื่อมาเข้าร่วมทดลองระบบ PGS
                       จึงสามารถเรียนรู้และท าความเข้าใจระบบ PGS ได้เร็วมากขึ้น  ดั้งนั้น เกษตรกรที่ท าเกษตรอินทรีย์
                       เป็นระยะเวลานานกว่า มีแนวโน้มที่จะผ่านการรับรอง PGS  ได้มากกว่าเกษตรกรที่เพิ่งเริ่มต้นท า
                       เกษตรอินทรีย์   นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องการเคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฯ เป็นปัจจัยที่มี

                       ผลต่อการผ่านการรับรอง PGS เช่นเดียวกัน ทั้งนี้หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเพื่อออกใบรับรอง
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61