Page 58 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       48








                       เข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยเข้ารับการอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์กับหน่วยงานต่างๆ ถ่ายทอด

                       ความรู้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ าเสมอ และยังต้องร่วมกันตรวจ
                       เยี่ยมฟาร์มเพื่อน และตัดสินให้การรับรอง แปลงผลิตทุกแปลงต้องได้รับการตรวจเต็มรูปแบบตาม
                       ข้อก าหนด โดยใช้แบบตรวจประเมิน (checklists แบบฟอร์ม F4) ท าการตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อนอย่าง

                       น้อยปีละครั้ง หรือตามรอบของพืชที่ผลิต (ในช่วงแรกควรตรวจอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง) น าผลการตรวจ
                       ประเมินเข้าที่ประชุมกลุ่มให้คณะกรรมการตัดสินให้การรับรอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่าง
                       การตรวจเยี่ยม การร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหาการผลิต และแนะแนวทางแก้ไขต่างๆ ท าให้เกิดการ
                       พัฒนาการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมีนวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้นในเครือข่ายเกษตรกรที่ท า

                       การตรวจเยี่ยมกัน

                               2.3  ข้อมูลการผลิตเกษตรอินทรีย์
                                     ในการศึกษาข้อมูลการผลิตเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
                       คือ  1. ชนิดพืชที่ปลูก  และ 2. การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และน้ าหมักชีวภาพ โดยผล

                       การศึกษามีรายละเอียดดังตารางที่ 13
                                     จากตารางที่ 13 พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จะท าการปลูกข้าวมากที่สุด
                       มีจ านวนทั้งสิ้น 201 คน คิดเป็นร้อยละ 73.09 รองลงมา คือ แตงโม จ านวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ
                       45.82 และพืชที่พบว่ามีการปลูกน้อยที่สุด คือ พืชตระกูลถั่ว จ านวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 32.00

                       มีเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชแบบผสมผสานจ านวน 50 คน  คิดเป็นร้อยละ 18.18  เมื่อพิจารณาข้อมูล
                       ผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS  พบว่า การปลูกพืชแบบผสมผสาน จะมีร้อยละของผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS
                       สูงที่สุดที่ร้อยละ 80 รองลงมาได้แก่ การปลูกพืชผัก  สมุนไพร ไม้ผล  พืชตระกูลถั่ว  แตงโม และข้าว
                                        ในส่วนของการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า ส่วนใหญ่จะมีการ
                       ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ มีจ านวนทั้งสิ้น 258 คน คิดเป็นร้อยละ 93.82 ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ใน

                       การปรับปรุงดินได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน และพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง ถั่วพร้า และถั่วพุ่ม)  รวมถึง
                       การใช้เชื้อจุลินทรีย์ไตรโครเดอร์ม่า  โดยพบว่ามีเพียง 17 คน เท่านั้น ที่ไม่ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์
                       คิดเป็นร้อยละ 6.18  การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยการใช้น้ าหมักชีวภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคน

                       มีการปรับปรุงดินด้วยน้ าหมักชีวภาพ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ชนิดของน้ าหมักชีวภาพที่เกษตรกรกลุ่ม
                       ตัวอย่างใช้ ได้แก่  น้ าหมักชีวภาพ พด. 2  พด.7  น้ าหมักฮอร์โมนไข่ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นต้น
                       ทั้งนี้เมื่อพิจารณาข้อมูลผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS และไม่ผ่านการรับรอง PGS  ในกลุ่มที่มีการใช้และไม่
                       ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ าหมักชีวภาพ  จะเห็นว่ามีร้อยละของจ านวนผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS และไม่ผ่าน

                       การรับรอง PGS ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงมาก
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63