Page 53 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       43







                       ร้อยละ 17.45  โดยเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” ผ่านการ
                       รับรอง PGS  จ านวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และไม่ผ่านการรับรอง PGS  จ านวน 16 คน
                       คิดเป็นร้อยละ 33.33 ส าหรับเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าว  ผ่านการรับรอง PGS
                       จ านวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 53.30  และไม่ผ่านการรับรอง PGS จ านวน 106 คน  คิดเป็นร้อยละ

                       46.70 เมื่อพิจารณาข้อมูลแล้วจะพบว่าเกษตรกรกลุ่มที่ได้เข้าร่วมอบรมฯ มีจ านวนผู้ที่ผ่านการรับรอง
                       PGS  สูงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมอบรมฯ  และมีจ านวนผู้ที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS  น้อยกว่ากลุ่ม
                       ที่ไม่ได้เข้าร่วมอบรมฯ   เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS” และ
                       หลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” จะพบว่า จ านวนผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS ของกลุ่มตัวอย่างที่

                       ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์ม” จะมีค่าร้อยละของผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS  สูง
                       มากกว่าหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS” จึงสามารถอนุมานได้ว่าการได้เข้าร่วมอบรม
                       หลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” ส่งผลต่อการผ่านการรับรอง PGS มากกว่าหลักสูตร “พื้นฐาน
                       เกษตรอินทรีย์ PGS”  เนื่องจากหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” จะมีเนื้อหาส าคัญเรื่องการ

                       กระบวนการตรวจรับรอง  และแนวทางการตัดสินการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วย
                       กระบวนการ PGS   ผู้ที่ได้เข้าอบรมหลักสูตรนี้  จึงมีความเข้าใจในเนื้อหาหลักที่ส าคัญซึ่งจะมีผลให้
                       ปฏิบัติตามกระบวนการ PGS  ได้อย่างครบถ้วน น าไปสู่การผ่านการรับรอง PGS  ได้อย่าง

                       มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ส าหรับเหตุผลที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมอบรมทั้ง 2 หลักสูตร
                       เนื่องจากกรมพัฒนาที่ดินมีงบประมาณจ ากัด  ท าให้ไม่สามารถอบรมเกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วม
                       โครงการฯ ได้  การด าเนินการจัดฝึกอบรมจึงคัดเลือกเพียงเกษตรกรแกนหลักเข้าร่วมอบรม และให้
                       น าความรู้ไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกทุกคนในกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมอบรม
                                       คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมกระบวนการ PGS  นั้น  จะเป็นเกษตรกรที่เพิ่ง

                       เริ่มต้นท าเกษตรอินทรีย์  หรือเป็นเกษตรกรที่ท าเกษตรอินทรีย์มาระยะหนึ่งแล้วแต่ยังไม่เคยผ่านการ
                       รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือเป็นเกษตรกรที่เคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรองแล้วก็ได้   เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตารางที่ 10  จะพบว่า

                       มีเกษตรกรตัวอย่างที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรองแล้ว
                       จ านวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 51.27 และไม่เคยผ่านการรับรองฯ  จ านวน 134 คน  คิดเป็นร้อยละ
                       48.73  ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่เคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฯ มาแล้ว จะมี
                       จ านวนคนที่ผ่านการรับรอง PGS  คิดเป็นร้อยละ 95   มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยผ่านการรับรอง

                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฯ มาก่อน  โดยมีจ านวนคนที่ผ่านการรับรอง PGS  เพียงร้อยละ 58
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง ได้แก่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       ภาคเหนือ (มอน.)  มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย  (Organic Thailand)  มาตรฐานเกษตร
                       อินทรีย์สากล เช่น  IFOAM และ EU

                                      ในส่วนของข้อมูลระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์ พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง
                       ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์ มากกว่า 5 ปี มากที่สุด มีจ านวนทั้งสิ้น 135 คน คิดเป็น
                       ร้อยละ 49.09 รองลงมา คือ 3 ปี จ านวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 30.90  เกษตรกรที่ท าเกษตรอินทรีย์
                       มานานมากกว่า 5 ปี  เป็นกลุ่มที่มีร้อยละของจ านวนผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS มากที่สุด  คือ ผ่านการ

                       รับรอง PGS  จ านวน109 คน คิดเป็นร้อยละ 80.74 และไม่ผ่านการรับรอง PGS  จ านวน 26 คน
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58