Page 51 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       41







                                   จากผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ 1 สามารถสรุปได้ว่า เกษตรกรที่มีเพศ อายุ ระดับ
                       การศึกษา สถานะการเป็นหมอดินอาสา และขนาดของพื้นที่การเกษตรที่แตกต่างกัน มีการผ่านการ
                       รับรอง PGS ไม่แตกต่างกัน  อธิบายได้ว่า เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  สถานะการเป็นหมอดินอาสา
                       และขนาดพื้นที่การเกษตร ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการผ่านรับรอง PGS    ทั้งนี้เนื่องจากในการท า

                       เกษตรอินทรีย์เพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมนั้น จะมีขั้นตอนการท า
                       การเกษตรที่หลากหลายขั้นตอนมากกว่าการท าเกษตรทั่ว ๆ ไป เกษตรกรที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ
                       เกษตรอินทรีย์เพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม จึงเป็นกลุ่มคนที่มีความ
                       สนใจในการเข้าร่วมอบรมหาความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์  ชอบที่จะศึกษาและ

                       แลกเปลี่ยนเรียนรู้  รวมทั้งมีความพร้อมเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์
                       ด้วยกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม  ดังนั้นไม่ว่าเกษตรกรจะเป็นเพศหญิงหรือชาย กลุ่มอายุ
                       ช่วงใด การศึกษาระดับใด จะเป็นหมอดินอาสาหรือไม่  จะมีพื้นที่การเกษตรขนาดเท่าใด ก็สามารถ
                       ประสบความส าเร็จในการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมได้  หากเกษตรกรมี

                       ความสนใจ มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมครบตามขั้นตอนกระบวนการของ
                       PGS  ก็สามารถผ่านการรับรอง PGS  ได้  สอดคล้องกับผลการศึกษาของสหภาพ (2552) ที่ได้
                       ท าการศึกษา เรื่องการยอมรับการปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของ

                       เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดที่สรุปว่า เกษตรกรที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกข้าว
                       หอมมะลิแตกต่างกัน มีการยอมรับการปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       โดยรวมไม่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของนาตยา (2556) ที่ท าการศึกษา
                       เรื่อง ความคิดเห็นของเกษตรกรต าบลหนองมะค่าโมง อ าเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อ
                       นโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ภาคการเกษตร ด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ที่พบว่า เกษตรกรต าบล

                       หนองมะค่าโมง อ าเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความ
                       คิดเห็นต่อนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจภาคการเกษตร ด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่แตกต่าง
                       กัน และสอดคล้องกับผลการศึกษาของวนิดา (2553) ที่ได้ศึกษา เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการ

                       ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในอ าเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ที่พบว่า ขนาดพื้นที่การเกษตร
                       ไม่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในอ าเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา

                                  2.2 ข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์
                                    ในการศึกษาข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
                       ประกอบไปด้วย  1)  ประวัติการฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์ที่ด าเนินการโดยกรมพัฒนาที่ดิน จ านวน 2

                       หลักสูตร คือ หลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS”  และหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน”
                       และ 2) ประสบการณ์ในการท าเกษตรอินทรีย์ ได้แก่  การเคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง และระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์    โดยผลการศึกษา
                       มีรายละเอียดดังตารางที่ 10
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56