Page 54 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       44







                       คิดเป็นร้อยละ 19.26  โดยเกษตรกรจ านวน 26 คน ที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS เนื่องจากเป็นเกษตรกร
                       ที่ท าเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรเพิ่งจะเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์  และเพิ่งจะเริ่มต้นจัดท าแนวกันชนจึงยังไม่สามารถจัดท าแนวกันชนที่หนาแน่น
                       พอที่จะปูองกันการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียงได้  อย่างไรก็ตามจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า

                       เกษตรกรท าเกษตรอินทรีย์เป็นระยะเวลายิ่งนานมากเท่าใด  จะมีร้อยละของผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS
                       มากยิ่งขึ้นเท่านั้น   เมื่อน าข้อมูลมาทดสอบสมมติฐานตามที่ตั้งไว้ คือ  สมมติฐานการวิจัยที่ 2 ข้อมูล
                       ประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 1) ประวัติการ
                       ฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์ 2 หลักสูตร คือ  หลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS” และ หลักสูตร

                       “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” และ2) ประสบการณ์ในการท าเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย การเคย
                       ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฯ และระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์มีความสัมพันธ์

                       กับการผ่านการรับรอง PGS ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ 2 ใช้สถิติ Multiple  Regression
                       ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อพยากรณ์อิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม โดย

                       ผลการศึกษามีรายละเอียดดังตารางที่ 11

                       ตารางที่ 11  ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณก าลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ และค่าความ
                                       คลาดเคลื่อนมาตรฐานเพื่อการพยากรณ์ ข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของ
                                  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

                                                                             2
                                                          2
                          Model            r             r        Adjusted r        Std. Error of the
                                                                                        Estimate
                             1           0.563         0.317          0.310              0.21905



                                 จากตารางที่ 11  พบว่า ตัวแปรตาม คือ การผ่านการรับรอง PGS มีความสัมพันธ์เชิงบวก
                       กับตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย

                       1) การฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS”  2) การฝึกอบรมหลักสูตร “การตรวจเยี่ยม
                       ฟาร์มเพื่อน” 3) การเคยผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฯ และ 4) ระยะเวลาในการท าเกษตร

                       อินทรีย์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.563 และสามารถท านายความถูกต้องผล
                                                          2
                       การวิเคราะห์ของตัวแปรตาม (Adjusted r ) ได้ร้อยละ 31.70 กล่าวโดยสรุป จากสมการที่ตั้งไว้ คือ
                       ข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์ต่อ
                       การผ่านการรับรอง PGS สามารถท านายความถูกต้องได้ ร้อยละ 31.70 ส าหรับปัจจัยหรือตัวแปร

                       อื่นๆ  อีกร้อยละ 72.30 ที่คาดว่าจะมีผลต่อการผ่านการรับรอง PGS  เป็นปัจจัยที่ไม่ได้น ามาในศึกษา
                       ครั้งนี้ อาจจะเป็นปัจจัยข้อมูลการฝึกอบรมด้านเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานอื่นๆ เช่น การผลิตพืช

                       อินทรีย์โดยกรมวิชาการเกษตร  การผลิตข้าวอินทรีย์โดยกรมการข้าว   มาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดย
                       ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ   การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล โดย

                       ส านักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  หรือการจัดอบรมภาคปฏิบัติในการศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59