Page 46 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       36







                               จากตารางที่ 4  ข้อมูลส่วนบุคคลของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 275 คน พบว่า ส่วนใหญ่
                       เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมีจ านวน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 57.09  เพศชายมีจ านวน
                       118 คน คิดเป็น  ร้อยละ 42.91  เมื่อพิจารณาปัจจัยเรื่องอายุ เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 55 ปี อายุต่ าสุด 17
                       ปี  อายุสูงสุด 77 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วง 51 – 60 ปี  มีจ านวนทั้งสิ้น 133 คน คิดเป็นร้อยละ

                       48.36  รองลงมา คือ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป จ านวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 28.36  นอกจากนี้ จะพบว่า
                       ไม่มีเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในช่วงอายุ 20-30 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงอายุของเกษตรกรรุ่นใหม่
                                   ส าหรับปัจจัยเรื่องระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด โดย
                       มีจ านวนทั้งสิ้น 187 คน  คิดเป็นร้อยละ 68.00 รองลงมา คือ มัธยมศึกษา จ านวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ

                       23.27  และพบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นหมอดินอาสา จ านวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 96.73  โดยพบว่า
                       มีเกษตรกรที่เป็นหมอดินเพียง 9 คน เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 3.27  สาเหตุที่มีหมอดินอาสาเข้าร่วมทดลอง
                       ระบบ PGS จ านวนน้อย  เนื่องจากเป็นช่วงแรกของการน ากลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมทดลองระบบ PGS  ซึ่งมี
                       กลุ่มเกษตรกรน าร่องเพียงไม่กี่กลุ่ม  จึงท าให้มีจ านวนหมอดินอาสาไม่มาก นอกจากนั้น เมื่อท าการศึกษา

                       ถึงขนาดของพื้นที่ในการท าการเกษตร พบว่า ขนาดพื้นที่ท าการเกษตรเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง คือ  9.5 ไร่
                       ขนาดพื้นที่เล็กที่สุด คือ 0.1 ไร่ และสูงสุดคือ 66 ไร่   ส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ท าการเกษตรอยู่ที่ 1 – 5 ไร่
                       มากที่สุด โดยมีจ านวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 37.82 รองลงมา คือ 6 – 10 ไร่ จ านวน 80 คน คิดเป็น

                       ร้อยละ 2.09 ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมทดลองระบบ PGS  จะเป็นเกษตรกรรายย่อย ที่มีพื้นที่ถือ
                       ครองขนาดเล็ก
                                เมื่อน าข้อมูลมาทดสอบสมมติฐานตามที่ตั้งไว้ คือ สมมติฐานการวิจัยที่ 1 เกษตรกรที่เข้าร่วม
                       โครงการที่มีข้อมูลส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีการผ่านการรับรอง PGS แตกต่างกัน
                               โดยในการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย สัญลักษณ์ที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน มีรายละเอียด

                       ดังนี้

                                  H         หมายถึง        สมมติฐาน


                              ²            หมายถึง        ค่าการทดสอบไคสแควร์
                              df            หมายถึง        ชั้นแห่งความเป็นอิสระ (Degree of Freedom)

                              p-value       หมายถึง        ค่าระดับนัยส าคัญ

                                     H   :  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่มีข้อมูลส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีการผ่านการ
                                      0
                       รับรอง PGS ไม่แตกต่างกัน
                                     H  :  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่มีข้อมูลส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีการผ่านการ
                                      1
                       รับรอง PGS แตกต่างกัน
                               การทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ 1  ผู้วิจัยใช้สถิติ Chi-square  เพื่อใช้ในการทดสอบความ

                       แตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยผลการศึกษามีรายละเอียดดังตารางที่ 5 – 9
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51