Page 36 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       27







                                  ส าหรับเกณฑ์การคัดเลือกข้อค าถาม มีรายละเอียดดังนี้
                                     1.  ข้อค าถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 – 1.00 คัดเลือกไว้ใช้ได้
                                     2.  ข้อค าถามที่มีค่า IOC ต่ ากว่า 0.5 ควรพิจารณาปรับปรุงหรือตัดทิ้ง
                                    เมื่อท าการปรับปรุงให้แบบสอบถามมีความเที่ยงตรงของเนื้อหา จึงสามารถน า

                       แบบสอบถามไปใช้ในการเก็บข้อมูลจริงจากกลุ่มตัวอย่างต่อไป  โดยจากการท าการทดสอบความ
                       เที่ยงตรง  พบว่า ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามโดยรวมที่ได้เท่ากับ 0.78 และทุกข้อมีค่าความ
                       เที่ยงตรงไม่น้อยกว่า 0.6 ซึ่งถือว่า แบบสอบถามมีความเที่ยงตรง สามารถน าไปใช้เก็บข้อมูลได้จริง
                       (บุญธรรม, 2542)

                                  2.4  การก าหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                                       จากการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับหลักการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการท าวิจัย (พวงรัตน์, 2553)
                       จึงเลือกใช้การก าหนดตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เนื่องจากเป็น

                       การคัดเลือกประชากรที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา ซึ่งกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่ม
                       ตัวอย่างคือกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมทดลองระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS ในปี 2558 ซึ่งมี
                       จ านวนเกษตรกรเข้าร่วมทดลองจ านวนรวมทั้งหมด 275  คน  จ านวน 6  กลุ่ม ใน 6  จังหวัด  ได้แก่

                       1) กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย อ าเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2) กลุ่มพี จี เอส สุขใจออร์แกนิค
                       จังหวัดนครปฐม 3) กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                       เกษตรอินทรีย์แม่มอก จังหวัดล าปาง  5) กลุ่มปลูกฮัก (วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ค าเขื่อนแก้ว)
                       จังหวัดยโสธร และ 6) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์   โดยกลุ่มเหล่านี้ได้รับการพัฒนา

                       กระบวนการ PGS  เป็นระยะเวลาประมาณ 18 เดือน ซึ่งมีเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง PGS  แล้ว
                       การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะศึกษาข้อมูลจากจ านวนประชากรทั้งหมดคือ 275 คน  ทั้งนี้จากการค านวณ

                       ขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ TARO  YAMANE  แล้วพบว่า จ านวนเกษตรกรตัวอย่างขั้นต่ าที่จะต้อง
                       สัมภาษณ์ จะต้องมีจ านวนไม่น้อยกว่า 163 คน  ดังนั้น จ านวนตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ จึงมีความ
                       น่าเชื่อถือเพียงพอ  ข้อมูลประชากรและกลุ่มตัวอย่างแสดงในตารางที่ 1


                       ตารางที่ 1 จ านวนเกษตรกรตัวอย่างที่เข้าร่วมทดลองระบบเกษตรอินทรีย์ PGS และเก็บข้อมูลมาศึกษาวิจัย

                                                                              จ านวนเกษตรกรตัวอย่าง
                                         กลุ่ม/จังหวัด

                       1. กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จ. สุรินทร์                   87
                       2. กลุ่ม พี จี เอส สุขใจออร์แกนิค จ.นครปฐม                      24
                       3. กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จ. เชียงใหม่               75

                       4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่มอก จ. ล าปาง              40
                       5. กลุ่มปลูกฮัก (วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ค าเขื่อนแก้ว)       40
                          จ. ยโสธร

                       6. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์                         9
                                      รวม 6 กลุ่ม  6 จังหวัด                           275
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41