Page 37 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       28







                                  2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                      2.5.1. แหล่งปฐมภูมิ (Primary  data) การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยใน
                       ครั้งนี้ ผู้วิจัยด าเนินการแจกและเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยได้
                       ติดต่อประสานงานกับกลุ่มเกษตรกรโดยตรง  และลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง แบ่งการ

                       สัมภาษณ์ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                                              กลุ่มที่ 1 เกษตรกรตัวอย่าง จ านวน 153 คน ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์ PGS ท าการเก็บข้อมูลข้อมูลครบทุกข้อของแบบสอบถามในส่วนที่ 1 - ส่วนที่ 4
                                            กลุ่มที่ 2 เกษตรกรตัวอย่าง จ านวน  122 คน ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์ PGS ท าการเก็บข้อมูล ส่วนที่ 1 ถึงส่วนที่ 4 ยกเว้นข้อมูลในส่วนที่ 3 (ข้อ 3.3
                       ภาคผนวก ก หน้า 72)
                                            กลุ่มที่ 3 เกษตรกรแกนหลักในแต่ละกลุ่ม  กลุ่มละ 2 คน  ท าการสัมภาษณ์
                       ค าถามปลายเปิดในส่วนที่ 5 เพื่อจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิของกลุ่ม น ามาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์

                       และวิจารณ์ผลการศึกษา
                                        2.5.2  แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary  data)   โดยการศึกษาค้นคว้า และ
                       รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย  ได้แก่  หลักการสถิติ

                       การคัดเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย  การรับรองเกษตร
                       อินทรีย์แบบมีส่วนร่วมร่วม  เพื่อน ามาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งนี้

                                   2.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
                                         หลังจากเก็บข้อมูลครบถ้วน ได้ท าการตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องของ
                       แบบสอบถาม จากนั้นจึงน าแบบสอบถามมาลงรหัส (Coding)  ตามวิธีการวิจัยทางสถิติ และ

                       ด าเนินการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows โดย
                       สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย
                                        2.6.1 สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics Analysis) โดยใช้ค่า
                       ร้อยละ (Percentage)  และความถี่ (Frequency)  และน าเสนอข้อมูลในตารางเพื่ออธิบายเบื้องต้น
                       เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง

                                        2.6.2 สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน (Inferential Statistical Analysis) เพื่อทดสอบ
                       สมมติฐาน  ประกอบด้วย   Chi-square  Multiple Regression  และ t-test  เหตุผลในการเลือก
                       สถิติทั้ง 3 วิธีในการทดสอบสมมติฐานงานวิจัย (พวงรัตน์, 2553)  เนื่องจาก

                                             1) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้สมมติฐานที่ใช้สถิติ Chi  square  ในการทดสอบ
                       สมมติฐาน คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่มีข้อมูลส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีการผ่านการรับรอง PGS
                       แตกต่างกัน ซึ่งแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในสมมติฐานข้อที่ 1 เป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับนาม
                       บัญญัติ (Norminal  Scale)  หรือ ข้อมูลเรียงล าดับ (Ordinal  Scale)  ดังนั้นสถิติที่เหมาะสมในการ

                       ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 คือ สถิติ Chi  square  ซึ่งเป็นสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของ
                       กลุ่มตัวอย่างที่มีเพียงกลุ่มหรือสองกลุ่ม จะใช้ทดสอบด้วยค่า Z-test  หรือ T-test  ข้อมูลที่น ามา
                       ทดสอบนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับการวัด (Measurement  Scale)  ระดับอันตรภาคชั้น
                       Interver Scale) หรือ ระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เท่านั้นในงานวิจัยบางเรื่องข้อมูลอาจอยู่ในรูป
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42