Page 38 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       29







                       ของความถี่ที่เป็นอิสระต่อกัน (Discrete  Data)  เป็น ข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ (Norminal
                       Scale)หรือ ข้อมูลเรียงล าดับ (Ordinal Scale) การทดสอบ ข้อมูลในลักษณะนี้ จะเป็นการทดสอบว่า
                       ข้อมูลที่ได้เป็นไปตามคาดหวัง (Expected)  ไว้หรือไม่ หรืออาจจะทดสอบว่าตัวแปร (Variable)  มี
                       ความสัมพันธ์กันหรือไม่ ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถ ทดสอบได้ด้วย Z-test  หรือ T-test  ซึ่งเป็นสถิติ

                       แบบพารามิตริก (Parametric  Statistics)  แต่จะสามารถทดสอบได้ด้วยไคสแควร์ (²) ซึ่งเป็นสถิติ
                       แบบนอนพารามิตริก (Nonparametric Statistics) ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่ค านึงถึงลักษณะการแจกแจงของ
                       ประชากร

                                                    2) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้สมมติฐานที่ใช้สถิติ Multiple Regression ในการ
                       ทดสอบสมมติฐาน คือ สมมติฐานการวิจัยที่ 2  3  และ 4  ข้อมูลประวัติการท าเกษตรอินทรีย์ของ
                       เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ประวัติการฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์ ประสบการณ์ในการท า

                       เกษตรอินทรีย์  ชนิดของพืชที่ปลูก การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และน้ าหมักชีวภาพ และ
                       ข้อมูลปัจจัยเสริมในการท าเกษตรอินทรีย์ เอกชน มีความสัมพันธ์กับการผ่านการรับรอง PGS

                       ซึ่งสมมติฐานดังกล่าวเป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ว่ามีตัวแปรอิสระ
                       ใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม และหากมีอิทธิพลจะมีอิทธิพลมากหรือน้อย

                       โดยคิดเป็นร้อยละ ดังนั้นจึงใช้สถิติ Multiple Regression ในการทดสอบเนื่องจากการวิเคราะห์การ
                       ถดถอยเป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent  Variable)

                       กับตัวแปรตาม (Dependent Variable) จะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linearity)  โดย
                       สถิติ Multiple  Regression    มีวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์การถดถอยที่ส าคัญ 2 ประการ คือ
                       1)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม และ2) เพื่อศึกษาปัจจัย (ตัวแปร

                       อิสระ) ที่ร่วมกันท านายหรือพยากรณ์ตัวแปรตาม
                                                 3) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้สมมติฐานที่ใช้สถิติ t-test ในการทดสอบสมมติฐาน

                       คือสมมติฐานการวิจัยที่ 5 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีต้นทุนการผลิตและรายได้จากการ
                       ขายผลผลิตก่อน และหลังท าเกษตรอินทรีย์แตกต่างกัน ซึ่งสมมติฐานดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบ

                       ข้อมูลต้นทุนการผลิตและรายได้จากการ ขายผลผลิตก่อน และหลังท าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มตัวอย่าง
                       ตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม ระหว่างก่อนท าเกษตรอินทรีย์กับหลังการท าเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกใช้

                       สถิติ t-test  ในการทดสอบสมมติฐาน  สรุปข้อมูลการใช้สถิติในการทดสอบสมมติฐานแสดงใน
                       ตารางที่ 2
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43