Page 36 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
ตารางที่ 7 การเปรียบเทียบทางสถิติ T-test ของผลผลิตล าไยคละเกรด ระหว่างปี 2558 (ก่อน
ด าเนินการ) และ ปี 2559 (หลังด าเนินการ)
T-test ผลผลิตล าไยคละเกรด (กิโลกรัมต่อไร่)
ปี
ก่อนด าเนินการ ปี 2558 หลังด าเนินการ ปี 2559
ก่อนด าเนินการ ปี 2558 - **
หลังด าเนินการ ปี 2559 ** -
หมายเหตุ ns หมายถึง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
* หมายถึง แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ (p<0.05)
** หมายถึง แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง (p<0.01)
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลผลผลิตล าไยในระดับคุณภาพต่างๆ ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีก่อนด าเนินการ
กับผลผลิตล าไยในระดับคุณภาพต่างๆ ในปี 2559 ซึ่งเป็นปีหลังด าเนินการ และมีทดสอบทางสถิติ พบว่า
ผลผลิตล าไยเกรด AA และผลผลิตล าไยเกรด A หลังด าเนินการ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง ผลผลิตล าไย
คละเกรด หลังด าเนินการ ลดลงอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการดินที่เหมาะสม มีการ
ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินในการปรับปรุงบ ารุงดิน มีการใช้ปูนโดโลไมท์
ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีการใช้ปุ๋ยหมัก น้ าหมักชีวภาพ และ
สารไล่แมลงจากสมุนไพรร่วมกับเชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส สามารถยกระดับผลผลิตล าไยคุณภาพได้
4.3.3 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการปลูกล าไย
จากการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าไปด าเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และปรับปรุงบ ารุงดินด้วย
ผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 950 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งเป็นเกรด AA เกรด A
และคละเกรด 100 250 600 กิโลกรัมต่อไร่ตามล าดับ มีต้นทุนผันแปร 5,777.75 บาทต่อไร่ เกษตรกรมี
ผลตอบแทนเหนือค่าใช้จ่ายผันแปร 7,822.25 บาทต่อไร่ มีผลประโยชน์ต่อการลงทุน (B:C ratio) เท่ากับ
1.35 หลังจากเข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้และปรับปรุงบ ารุงดินด้วยผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน
ตลอดจนการบริหารจัดการกระบวนการผลิตล าไยตามหลักวิชาการ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 900
กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งเป็นเกรด AA เกรด A และคละเกรด 400 300 200 กิโลกรัมต่อไร่ตามล าดับ ผลผลิต
ของเกษตรกรมีคุณภาพดีขึ้น เกษตรกรสามารถผลิตล าไยเกรด AA ได้มากขึ้น ท าให้ขายล าไยได้ในราคา
ที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรมีต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นเป็น 7,902.75 บาทต่อไร่ แต่เกษตรกรก็ยังได้รับ
ผลตอบแทนเหนือค่าใช้จ่ายผันแปร 13,597.25 บาทต่อไร่ มีผลประโยชน์ต่อการลงทุน (B:C ratio) เท่ากับ
1.72 ซึ่งหมายความว่าหลังด าเนินการหากเกษตรกรมีการจัดการที่ดีถึงแม้เกษตรกรจะมีต้นทุนการผลิต
ที่สูงขึ้นแต่เกษตรกรได้รับผลตอบแทนต่อหน่วยการลงทุนที่สูงกว่า