Page 22 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        13





                   2.5 ข้อมูลศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

                          ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน มีสินค้าหลัก
                   คือ ล าไย ตั้งอยู่ที่บ้านพญาแก้ว หมู่ที่ 4 ต าบลพญาแก้ว อ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ได้รับการประเมิน
                   ระดับการพัฒนาเป็นระดับ A ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอ าเภอ
                   เชียงกลาง คือ นายสมรรถพล  ขอดเตชะ อยู่บ้านเลขที่ 28 บ้านพญาแก้ว หมู่ที่ 4 ต าบลพญาแก้ว อ าเภอ

                   เชียงกลาง  จังหวัดน่าน
                          สถานการณ์ของพื้นที่ต าบลพญาแก้ว ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรรมจากครัวเรือน
                   ทั้งหมด 892 ครัวเรือน มีครัวเรือนเกษตรกร 813 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 91.14 มีรายได้จากพืชเศรษฐกิจหลัก
                   ได้แก่ ล าไย รองลงมาคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวซึ่งส่วนใหญ่ปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนเท่านั้น สภาพ

                   ปัญหาทางการเกษตรที่เกษตรกรผู้ปลูกล าไยในพื้นที่ต าบลพญาแก้ว จ านวน  232  ราย  349  แปลงรวมพื้นที่
                   1,205 ไร่ ขาดแคลนระบบน้ าเพื่อการเกษตร ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูงเกษตรกรจึงรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหา
                   และพัฒนากระบวนการผลิตล าไย พัฒนาระบบน้ าเพื่อการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่

                   พัฒนาคุณภาพผลผลิต ภายในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอ าเภอเชียงกลาง
                   ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ที่ 1 การลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรจะได้เรียนรู้
                   เรื่องการตัดแต่งกิ่ง การท าปุ๋ยหมักใต้ต้นล าไย การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การเพิ่ม
                   ประสิทธิภาพการผลิต เกษตรกรจะได้เรียนรู้การใส่ปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโต การบริหารจัดการน้ า
                   ฐานการเรียนรู้ที่  3  การจัดการผลผลิต  เกษตรกรจะได้เรียนรู้การจัดการทรงพุ่ม การตัดแต่งช่อ ฐาน

                   การเรียนรู้ที่  4  การเชื่อมโยงด้านการตลาด  เกษตรกรจะได้เรียนรู้การรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอ านาจต่อรอง
                   ทางการตลาด การรวมกลุ่มกันซื้อ การรวมกลุ่มกันขาย การตลาดแบบพันธะสัญญา (ภาพที่ 4)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27