Page 15 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          8





                                  แม้ว่ารากพืชสามารถดูดกรดอะมิโนได้ แต่เนื่องจากในดินมีน้อย จึงไม่ใช่รูปของไนโตรเจน
                       ที่ส าคัญต่อพืช ในดินที่มีการระบายอากาศดี ไนโตรเจนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปไนเตรท ซึ่งพืชก็สามารถ
                       เจริญเติบโตได้แม้จะได้รับเฉพาะรูปไนเตรทเพียงอย่างเดียว เมื่อไนเตรทเข้าสู่เซลล์พืชจะถูกรีดิวส์จนได้
                       แอมโมเนียม แล้วจึงเข้ารวมกับสารอินทรีย์บางชนิดสังเคราะห์เป็นกรดอะมิโน (ยงยุทธ, 2558)


                       2. วิธีวิเคราะห์ไนเตรท
                              อนินทรีย์ไนโตรเจนมีอยู่ประมาณน้อยกว่า 2%  ของไนโตรเจนทั้งหมดในดินซึ่งอยู่ในรูปของ
                       แอมโมเนียมและไนเตรท ซึ่งสามารถใช้ในการบอกความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนได้ แต่มีอยู่ใน

                       ปริมาณน้อยมากเนื่องจากเปลี่ยนรูปง่าย การปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น
                       จากกิจกรรมของจุลินทรีย์ ดังนั้น การวิเคราะห์จะต้องท าทันทีหลังจากการเก็บตัวอย่างดิน การเก็บ
                       ตัวอย่างดินนิยมเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และท าการวิเคราะห์เร็วที่สุด โดยทั่วไปแล้ว
                       ไม่อาจปฏิบัติได้ เพราะมีความยุ่งยากและเสียเวลาในการขนส่ง (วาสนา, 2560)  ดังนั้น การวิเคราะห์

                       ปริมาณไนเตรทจึงมีวิธีวิเคราะห์ที่หลากหลาย ซึ่งกระบวนการวิเคราะห์ปริมาณไนเตรทประกอบด้วย
                       (1) การสกัดดิน และ (2) การวิเคราะห์ไนเตรทในสารละลายดิน

                              2.1  น้้ายาที่ใช้ในการสกัดดิน
                                  การสกัดดินเพื่อวิเคราะห์ไนเตรทมีการใช้น้ ายาสกัดที่หลากหลายตามความเหมาะสมของ
                       วิธีการวิเคราะห์นั้นๆ ซึ่งน้ ายาสกัดที่นิยมใช้ ได้แก่ 1M NH HCO -DTPA, 0.01M CaSO .2H O, 2M
                                                                                                     2
                                                                                                 4
                                                                        4
                                                                             3
                       KCl, 0.01M CaCl .2H O และ 0.04M (NH ) SO  เป็นต้น ส่วนน้ ายาสกัดที่นิยม ใช้หาปริมาณไนเตรท
                                                           4 2
                                          2
                                      2
                                                                4
                       ของดินในประเทศไทย ได้แก่ Mehlich I เนื่องจากสามารถใช้สกัดไนเตรทจากดินได้ผลดี ทั้งยังสามารถ
                       เตรียมได้ง่ายและราคาถูก (สมชาย และคณะ, 2543)
                                  ทัศนีย์ และคณะ (2542) ศึกษาการวิเคราะห์ N P K ในดินอย่างง่าย โดยคัดเลือกน้ ายา
                       สกัด N P K เพียงครั้งเดียว แต่สามารถวิเคราะห์ปริมาณ N P K ได้ พบว่า น้ ายา Mehlich I เป็นน้ ายา
                       สกัดที่เหมาะสมและได้ถูกคัดเลือกให้เป็นน้ ายาสกัดดิน  จากนั้นน าสิ่งที่สกัดได้มาวิเคราะห์ปริมาณ
                       ไนโตรเจนในรูปไนเตรทโดยวิธีท าให้เกิดสี เปรียบเทียบการวัดปริมาณไนเตรทโดยใช้ Spectrophotometer

                       กับการใช้แผ่นสีมาตรฐาน พบว่า การวัดปริมาณไนเตรทโดยการใช้  Spectrophotometer  กับการใช้
                       แผ่นสีมาตรฐานมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ
                                  บุญแสน และคณะ (2543)  ศึกษาน้ ายาสกัดเดี่ยวส าหรับ N  P  K  ในชุดดินชัยบาดาล
                       ชุดดินตาคลี ชุดดินลพบุรี ชุดดินสตึก และชุดดินปากช่อง โดยใช้น้ ายาสกัด 10 ชนิด พบว่า ถ้าต้องการที่

                       จะสกัดไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม การใช้น้ ายาสกัดเพียงตัวเดียว วิธี Mehlich I เป็นวิธี
                       ที่เหมาะสมที่สุด นอกจากจะให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติแล้ว ยังเตรียมได้
                       ง่าย และสะดวกกว่าวิธีอื่นด้วย
                                  สัมฤทธิ์ (2546) ศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ N P K ที่สกัดด้วยน้ ายาชนิดเดียวกับ

                       การดูดกิน N P K ของข้าวที่ปลูกในดินนา โดยท าการสกัดดินนา 6 ชุดดิน ด้วยน้ ายาสกัด 6 ชนิด พบว่า
                       ถ้าต้องการสกัดไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในดินนา การใช้น้ ายาสกัดเพียงตัวเดียว วิธี modified
                       Mehlich  I เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นอกจากให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ

                       แล้ว ยังเตรียมได้ง่ายและสะดวกกว่าวิธีอื่นด้วย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20