Page 18 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
11
Jenkins and Medsken (1964) ได้ศึกษาการวิเคราะห์ไนเตรทและไนไตรท์ด้วย
เทคนิคแบบ ion selective electrode พบว่า ค่าศักย์ไฟฟ้าแปรตามสัมประสิทธิ์ความว่องไวของ
ไอออนมีค่าคงที่ โดยเทคนิคนี้จ าเป็นต้องสร้างกราฟมาตรฐานของศักย์ไฟฟ้ากับความเข้มข้นของไอออน
ในการวิเคราะห์ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้ประดิษฐ์เมมเบรนส าหรับวิเคราะห์ไนเตรทโดยใช้ poly vinyl
chloride (PVC) membrane ร่วมกับ anion exchanger โดย anion exchanger ที่ท าหน้าที่
คัดเลือกไนเตรท ท ามาจาก tetradodecylammonium bromide (TDABr) และ tetradodecyl-
ammoniumnitrate (TDAN)
2.2.3 วิธี Microdiffusion
เป็นวิธีการท าตัวอย่างให้บริสุทธิ์ โดยอาศัยการระเหยของสารตัวอย่าง และถูกดัก
เก็บโดยสารเคมีที่เหมาะสมและแยกเก็บในช่องอีกส่วนซึ่งท าในระบบปิด ข้อดีคือ ท าได้ง่าย ใช้เครื่องมือ
และพื้นที่น้อย ราคาถูก เหมาะส าหรับงานวิเคราะห์ซึ่งท าเป็นประจ า ถ้าท าอย่างถูกวิธีจะให้ค่าที่ถูกต้อง
แม่นย า แต่ในดินส่วนใหญ่มีอนินทรีย์ไนโตรเจนต่ า จึงท าให้ค่าความแม่นย าต่ าลง ข้อเสียของวิธีนี้ คือ
ต้องใช้เวลา 1-2 วัน ในการวิเคราะห์ ท าให้ไม่ค่อยนิยมใช้ (วาสนา, 2560)
2.2.4 วิธี Stream distillation
เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากมีความแม่นย าสูง สามารถใช้
วิเคราะห์ isotope ratio ในรูปต่างๆ วิธีนี้ใช้ MgO เป็นด่างในการกลั่น และใช้ devarda alloy เป็น
reductant วิธีนี้มีข้อเสีย คือ ใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน ขั้นตอนยุ่งยาก และเครื่องมือมีราคาแพง
สมชาย และคณะ (2543) ศึกษาวิธีวิเคราะห์ปริมาณแอมโมเนียมและไนเตรทที่
สกัดได้โดย Mehlich I ในดินปลูกข้าวโพดของประเทศไทย โดยน าสารละลายที่สกัดได้จากดินมาวิเคราะห์
ไนเตรทโดยใช้วิธีการกลั่นและวิธีเทียบสี ท าการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากทั้ง 2 วิธี พบว่า
วิธีการกลั่นและวิธีเทียบสีให้ค่าวิเคราะห์เท่ากัน และได้ตรวจสอบความแม่นย าและความน่าเชื่อถือของ
วิธีวิเคราะห์โดยการปลูกพืชในกระถาง ผลสรุปได้ว่า วิธีการวิเคราะห์ปริมาณแอมโมเนียมและไนเตรท
ในดินโดยวิธีเทียบสีสามารถใช้ทดแทนวิธีการกลั่น เมื่อมีการใช้ Mehlich I เป็นน้ ายาสกัดดิน
2.2.5 วิธี Flow injection analysis
เป็นวิธีที่วัดการเกิดสีของไอออนที่ต้องการ โดยการฉีดสารละลายที่ต้องการ
วิเคราะห์ลงในส่วนของ carrier solution ที่ไม่มีการแยกส่วน (nonsegmented) โดยฟองอากาศหรือ
แก๊สสารละลายตัวอย่างจะถูกส่งผ่านเข้า Cadmium column ไนเตรทในสารละลายตัวอย่างจะถูก
รีดิวส์ให้เป็นไนไตรท์ ซึ่งไนไตรท์จะท าปฏิกิริยากับ sulfanilamide และ N-(1-naphthy) ethylenediamine
dihydrochloride ท าให้เกิดสี แล้วท าการวัดค่าการดูดกลืนแสง
นิทรา และคณะ (2544) ศึกษาการวิเคราะห์ปริมาณไนเตรทด้วยวิธี cadmium
reduction flow injection analysis (FIA) โดยฉีดสารละลายตัวอย่างปริมาณน้อยๆ เข้าไปในกระแส
ตัวพาที่ไหลอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราเร็วคงที่ในท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก การวิเคราะห์ไนเตรท
จะวิเคราะห์ไนไตรท์โดยให้สารละลายท าปฏิกิริยากับ reagent โดยไม่ผ่าน cadmium column เอาค่า
ไนไตรท์ที่ได้ลบออกจากไนไตรทที่ผ่านคอลัมน์จะได้ค่าไนเตรท เมื่อไนเตรทผ่าน cadmium column
จะเปลี่ยนเป็นไนไตรท์และท าปฏิกิริยากับ sulfanilamide และสาร N-(1-napthyl) ethylenediamine