Page 17 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
ศิริพร (2555) ศึกษาการพัฒนาชุดทดสอบปริมาณแอมโมเนียและไนเตรทในน้ า
ภาคสนามส าหรับโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชด าริ
พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ไนเตรท คือ ใช้น้ าตัวอย่าง 10.0 มิลลิลิตร รีเอเจนท์ C 0.5
มิลลิลิตร ผงรีเอเจนท์ D 0.1155 กรัม และตั้งทิ้งไว้ 30 นาที จากการทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบ
เปรียบเทียบกับเครื่อง UV-Vis Spectrophotometer พบว่า ปริมาณไนเตรทที่ตรวจวัดได้จากทั้ง 2 วิธี
ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) น้อยกว่า 10 ดังนั้น
ชุดตรวจสอบปริมาณไนเตรทในน้ าภาคสนามจึงมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ
ประสิทธิ์ และวิริญรัชญ์ (2555) ศึกษาการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณ
ไนไตรท์ และไนเตรทด้วยวิธีสเปกโทรโฟโตมีทรีในตัวอย่างน้ า ที่ท าได้ง่าย สะดวก และลดมลภาวะที่จะ
เกิดกับสิ่งแวดล้อม โดยการวิเคราะห์หาปริมาณไนเตรทจะรีดิวส์ไนเตรทเป็นไนไตรท์ด้วยสังกะสี ก่อน
ท าการวิเคราะห์หาไนเตรทในรูปของไนไตรท์ต่อไป การวิเคราะห์หาปริมาณไนไตรท์อาศัยปฏิกิริยา
ไดอะโซไทเซชันของ Sulphanilic acid ได้เกลือไดอะโซเนียม จากนั้นน าไปท าปฏิกิริยาคู่ควบกับ
Methyl anthranilate เกิดสีย้อม azo dye น าไปอ่านค่าด้วยเครื่อง Spectrophotometer ที่ความ
ยาวคลื่น 538 นาโนเมตร พบว่า ความเข้มข้นของ Sulphanilic acid และ Methyl anthranilate ที่
เหมาะสม คือ 0.4% (w/v) และ 0.6% (w/v) ตามล าดับ
ประสาทพร (2556) ศึกษาการพัฒนาชุดตรวจสอบไนเตรทอย่างง่ายโดยใช้สาร
ควบคู่ คือ Dopamine และ MBTH (3-Methyl-2-Benzothiazolinone Hydrazone Hydrochloride)
โดยท าการศึกษาในน้ าเกลือที่ระดับความเค็มต่างๆ ทดสอบโดยใช้แถบสีมาตรฐานเปรียบเทียบกับเครื่อง
Spectrophotometer พบว่า แถบสีมาตรฐานใช้ได้เหมาะสมกับความเข้มข้นของไนเตรทไม่เกิน 1.0
มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าความเข้มข้นเกินนี้ต้องวัดด้วยเครื่อง Spectrophotometer
พัชราภรณ์ และคณะ (2552) ศึกษาการวิเคราะห์การสะสมไนเตรทในผักสด โดย
น าตัวอย่างที่สกัดได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธี colorimetric 2 วิธี ได้แก่ Brucine และ Salicylic acid เทียบ
กับการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Flow Injection Analyzer (FIA) พบว่า การวิเคราะห์ด้วยวิธี Brucine และ
Salicylic สามารถวัดค่าความเข้มข้นของไนเตรท-ไนโตรเจน ในตัวอย่างพืชได้โดยไม่มีความแตกต่างทาง
สถิติกับค่าที่วัดได้จากการวัดด้วยเครื่อง Flow injection analyzer
2.2.2 วิธี Specific ion electrodes
เป็นวิธีวิเคราะห์ความเข้มข้นของไนเตรทในสารละลายด้วย ion electrode วิธีนี้
-
มีข้อดีคือ ท าได้ง่าย รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ NO electrode ที่ใช้กันในปัจจุบันมักถูกรบกวนด้วย
3
anion อื่นๆ ที่มีอยู่ในสารละลายที่สกัดได้จากพืชหรือดิน ท าให้ต้อง restandardize electrode อยู่
ตลอดเวลา ให้ค่า sensitivity ค่อนข้างต่ า ท าให้ไม่เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย (วาสนา, 2560)
สุดา (2554) กล่าวว่า การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค ISE (ion selective electrode)
หรือ specific ion electrode เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หนึ่งในการวัดปริมาณไอออน กลุ่มไอออน
แก๊สบางชนิดในตัวอย่างน้ า และสารละลายตัวอย่างได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และถูกต้องแม่นย าเป็น
ที่ยอมรับระดับสากล โดย ISE ยอมให้ไอออนเฉพาะส าหรับ electrode ชนิดนั้นๆ ผ่านเท่านั้น โดย
electrode ที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณไนเตรท ประกอบด้วย nitrate electrode และ reference electrode