Page 10 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          3





                                                      หลักการและเหตุผล


                              ไนโตรเจน (Nitrogen, N) เป็นธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับการเจริญเติบโตของพืชต่างๆ ถือว่า

                       เป็นธาตุอาหารที่ส าคัญล าดับแรกๆ ของพืชเป็นอย่างมาก ถ้าพืชมีการขาดธาตุไนโตรเจนจะสังเกตได้
                       จากใบล่างของพืชจะเริ่มมีอาการเหลืองซีดลามขึ้นไปถึงปลายยอด นอกจากอาการดังกล่าวแล้วการขาด
                       ไนโตรเจนยังท าให้การเจริญเติบโตของพืชลดลง ส่วนในพืชที่มีไนโตรเจนมากเกินไป พืชจะมีสีเขียวเข้ม
                       ล าต้นอวบสูง ศัตรูพืชท าลายได้ง่าย รูปของไนโตรเจนที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้จะอยู่ในรูป
                                                                                    -
                       อนินทรีย์ไนโตรเจน (inorganic  nitrogen)  ได้แก่ ไนเตรทไอออน (NO )  และแอมโมเนียมไอออน
                                                                                   3
                           +
                       (NH ) พืชส่วนใหญ่มีแนวโน้มการดูดใช้ไนโตรเจนในรูปของไนเตรทมากกว่าแอมโมเนียม แม้ว่าหลังการ
                          4
                       ดูดซึมไนเตรทเข้าไปในเซลล์พืชแล้ว พืชต้องใช้พลังงานในการเปลี่ยนรูปไนเตรทไปเป็นแอมโมเนียม
                       เพื่อน าไปผลิตสารประกอบโปรตีนอื่นๆ แต่ไนโตรเจนในรูปของไนเตรทก็สูญเสียไปจากดินได้ง่ายกว่า

                       ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม (วาสนา, 2560)
                              การวิเคราะห์ดินเป็นวิธีการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

                       เนื่องจากมีความสะดวกและใช้ระยะเวลาสั้นกว่าวิธีอื่นๆ ได้แก่ การวินิจฉัยลักษณะการขาดธาตุอาหาร
                       ของพืช การวิเคราะห์เนื้อเยื่อพืช และการทดสอบทางชีวภาพ ดังนั้น การวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจน
                       ในดินในรูปไนเตรท แล้วน าผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปประเมินความต้องการของพืชเพื่อใช้ส าหรับการ

                       แนะน าปริมาณปุ๋ยไนโตรเจน จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนจากการใส่ปุ๋ยอย่าง
                       ถูกต้องและเหมาะสมได้ แต่ส่วนใหญ่การวิเคราะห์ไนโตรเจนในห้องปฏิบัติการจะวิเคราะห์ในรูปไนโตรเจน
                       ทั้งหมด (Total Nitrogen) และในรูปของอินทรียไนโตรเจนที่ได้จากอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ต้อง
                       ใช้สารเคมี และเครื่องมือที่มีราคาแพง รวมถึงขั้นตอนการวิเคราะห์มีความยุ่งยากซับซ้อน ใช้เวลานาน

                       และอาจจะยังไม่ครอบคลุมความต้องการของผู้ที่จะน าไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร จึงต้องวิเคราะห์ในรูปของ
                       อนินทรียไนโตรเจนที่ได้จากไนเตรทและแอมโมเนียมด้วย

                              งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีวิเคราะห์ไนเตรทของตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ
                       ที่สามารถตรวจวัดได้ง่าย โดยทราบผลที่ถูกต้องในระยะเวลาอันรวดเร็ว ใช้ได้สะดวกโดยไม่ต้องอาศัย
                       ผู้ช านาญการ ใช้สารเคมีในปริมาณที่น้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องใช้อุปกรณ์และ

                       เครื่องมือที่ราคาแพง โดยวิธีวิเคราะห์ไนเตรทมีหลากหลายวิธี แต่เมื่อน ามาใช้วิเคราะห์ไนเตรทในดินที่
                       สกัดด้วยน้ ายาสกัด Mehlich I นั้น ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากน้ ายาสกัด Mehlich I เป็นกรดจัดมาก
                       ผู้วิจัยจึงพัฒนาเพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมของวิธีวิเคราะห์ไนเตรท โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาของ

                       ไนเตรทกับสารประกอบเชิงซ้อนอื่นๆ ร่วมกับรีเอเจนท์ ท าให้เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนสีม่วงแดง
                       สามารถดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่น 530 นาโนเมตร และน าค่าการดูดกลืนแสงที่ได้ไปเทียบกับ
                       กราฟมาตรฐานจะสามารถค านวณหาความเข้มข้นของไนเตรทได้ จากนั้นท าการพัฒนาสารละลายเทียบ
                       สีมาตรฐานให้เหมะสมกับการวิเคราะห์ไนเตรทในตัวอย่างดินเพื่อให้ง่าย  และสะดวกต่อการแปรผลค่า
                       วิเคราะห์ไนเตรท และน าไปสู่การพัฒนาเป็นชุดทดสอบปริมาณไนเตรทในดินภาคสนามต่อไป
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15