Page 14 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          7





                                  ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารส าคัญที่พืชใช้ในโครงสร้างและเมทาบอลิซึม สัตว์กินพืชและ
                       ผู้บริโภคล าดับถัดมาได้ใช้ไนโตรเจนจากพืชเป็นแหล่งสร้างโปรตีนและสารพันธุกรรม เมื่อพืชและสัตว์
                       ตายลง ผู้ย่อยสลายพวกราและแบคทีเรียสามารถย่อยสลายไนโตรเจนในสิ่งมีชีวิตให้กลับเป็น
                       แอมโมเนียม ซึ่งพืชสามารถน ามาใช้ได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า แอมโมนิฟิเคชัน (ammonification)

                                  ไนโตรเจนในสารอินทรีย์สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซไนโตรเจนโดยผ่าน 2

                       กระบวนการ คือ
                                     1. ไนตริฟิเคชัน (nitrification) แบคทีเรียบางชนิดใช้แอมโมเนียมในดินเป็นแหล่ง
                                                     -
                       พลังงาน และท าให้เกิดไนไตรท์ (NO ) ซึ่งเปลี่ยนเป็นไนเตรทที่พืชใช้ได้ด้วย
                                                    2

                                                Nitrosomonas                   Nitrobacter
                                                                -
                                   +
                                                                                         -
                                NH  (ammonia)                NO  (nitrite)             NO  (nitrate)
                                   4
                                                                                         3
                                                                2

                                     2. ดีไนตริฟิเคชัน (denitrification) ในสภาพไร้ออกซิเจน แบคทีเรียบางชนิดสามารถ
                       สร้างออกซิเจนได้เองจากไนเตรท และได้ผลผลิตเป็นก๊าซไนโตรเจนกลับคืนสู่บรรยากาศ
                                     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปริมาณไนโตรเจนที่หมุนเวียนในระบบนิเวศที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้จะ
                       มีปริมาณน้อยมาก แต่วัฏจักรไนโตรเจนในธรรมชาติก็สมดุลด้วยปฏิกิริยาซึ่งเกิดโดยพืชและการย่อย
                       สลายของแบคทีเรีย


                                                 -
                            -
                        NO  (nitrate)            NO  (nitrite)          N O (nitrous oxide)         N  (nitrogen)
                                                                                               2
                           3
                                                 2
                                                                   2

                              1.4  ความส้าคัญของไนโตรเจนที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช
                                  หน้าที่ของธาตุไนโตรเจนในพืช ช่วยกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโตและมีความแข็งแรง ส่งเสริม
                       การเจริญเติบโตของใบและล าต้น ท าให้ใบพืชมีสีเขียว ส่งเสริมคุณภาพของพืชโดยเฉพาะพืชผักสวนครัว
                       ที่ใช้ใบ ล าต้น และหัวเป็นอาหาร ส่งเสริมให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต เพิ่ม

                       ปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ควบคุมการออกดอกออกผล
                       ของพืช และช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นโดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
                                  อาการที่พืชขาดธาตุไนโตรเจน ใบของพืชจะมีสีเหลืองผิดปกติ ล าต้นแคระแกร็นไม่เจริญ
                       เติบโตตามปกติ ผลผลิตต่ าและไม่มีคุณภาพ แต่การที่พืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปจะท าให้พืชมี

                       ลักษณะคุณภาพของเมล็ด ผล และใบ เสื่อมสภาพลง พืชแก่ช้ากว่าปกติ ผลผลิตของพืชที่ให้เมล็ดลดลง
                       เพราะพืชมุ่งในการสร้างยอด ล าต้น กิ่ง และใบมากกว่าสร้างดอก เมล็ด และล าต้นอ่อน ท าให้การ
                       ต้านทานต่อโรคลดลงด้วย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)

                                                    -
                              1.5  ไนเตรทไอออน (NO )
                                                    3
                                  ในดินที่มีอากาศถ่ายเทดี กระบวนการไนตริฟิเคชันเกิดขึ้นเร็ว ท าให้แอมโมเนียมไอออน
                       เปลี่ยนเป็นไนเตรทไอออน ดินจึงมีไนโตรเจนในรูปไนเตรทเพิ่มขึ้น ในสารละลายดินทั่วไปมีไนเตรท
                       มากกว่า 1 มิลลิโมลาร์ แต่ในดินที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอาจมีไนเตรทสูงถึง 70 มิลลิโมลาร์
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19