Page 57 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       43







                                                             บทที่ 4
                                                        ผลการด าเนินงาน


                       4.1 การเปรียบเทียบสมบัติทางเคมีของดิน
                              การเปรียบเทียบสมบัติทางเคมีของดินในแปลงก่อนและหลังการด่าเนินงาน จากผลวิเคราะห์

                       ดิน (ตารางที่ 4) สามารถสรุปได้ดังนี้
                              ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน พบว่า ก่อนการด่าเนินงานในปี 2557 ดินเป็นกรดจัดมาก มี
                       ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 4.6 หลังการด่าเนินงานในปี 2558 และ 2559 พบว่า ค่าความเป็น
                       กรดเป็นด่างของดินมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากัน โดยมีค่าเท่ากับ 4.9 เป็นผลเนื่องจากมีการใช้ปูนโดโลไมท์

                       หว่านรอบทรงพุ่มทุเรียนเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดินก่อนการด่าเนินงาน ส่วนในปี 2560 ค่า
                       ความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่าลดลงเท่ากับ 4.5 อาจจะเนื่องมาจากพื้นที่ด่าเนินการอยู่ในเขตร้อน
                       ชื้น มีปริมาณน้่าฝนเฉลี่ยตลอดปีสูง เมื่อฝนตกลงมาน้่าฝนจะชะละลายธาตุที่เป็นด่างในดินบนลงสู่ชั้น

                       ดินล่าง ท่าให้ดินบนเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับไม่มีการใส่ปูนโดโลไมท์ลงในแปลงอีกท่าให้ค่า
                       ความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลงได้
                              ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พบว่า ก่อนการด่าเนินงานในปี 2557 ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่
                       ในระดับสูง (3.28 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2558 มีค่าเท่ากับ
                       3.49 เปอร์เซ็นต์ ปี 2559 มีค่าเท่ากับ 3.61 เปอร์เซ็นต์ และปี 2560 มีค่าเท่ากับ 4.8 เปอร์เซ็นต์ เป็น

                       ผลเนื่องมาจากมีการใช้ปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่องทุกปี ร่วมกับการใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดินในปีแรก
                              ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน พบว่า ก่อนการด่าเนินงานในปี 2557 ดินมีปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่่ามาก (5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  หลังการด่าเนินงานในปี 2558  พบว่า

                       ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง (28 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) อาจเป็น
                       ผลเนื่องมาจากมีการใช้ปุ๋ยหมักจากมูลเป็ด มูลไก่ และมูลสุกร ซึ่งมีธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบสูง
                       ส่วนในปี 2559 และ 2560 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าลดลง (12 และ 0.2 มิลลิกรัม
                       ต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ) อาจเป็นผลเนื่องมาจากการที่พืชดูดดึงไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

                              ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน พบว่า ก่อนการด่าเนินงานในปี 2557  ดินมี
                       ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในระดับสูง (74 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) หลังการด่าเนินงาน พบว่า
                       ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงมาก (120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
                       ในปี 2558 และอยู่ในระดับสูง (108 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในปี 2559 เป็นผลเนื่องมาจากมีการใช้ปุ๋ย

                       พืชสด (ถั่วพร้า) ปรับปรุงดินในปีแรก ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักจากมูลเป็ด มูลไก่ มูลวัว และมูลสุกร ซึ่งมี
                       ธาตุโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบสูง  ต่อเนื่องทุกปี ส่วนในปี 2560 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็น
                       ประโยชน์ในดินมีค่าลดลงเล็กน้อย (79 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  อาจเป็นผลเนื่องมาจากการที่พืชดูดดึง
                       ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62