Page 62 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                                            บทที่ 3
                                                       การตรวจเอกสาร



                            การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดิน ที่มีผลต่อการวางแผนการใช้ที่ดินระดับ
                       ลุ่มน้้าสาขาล้าเชิงไกร เพื่อน้ามาใช้ส้าหรับการศึกษา รวมทั้งการก้าหนดประเด็นในการสร้างเครื่องมือ
                       การรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และอภิปรายผลการศึกษา ดังนี้

                       3.1  หลักการและองค์ประกอบข้อมูลด้านกายภาพ

                            ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อน้าไปสู่การวางแผนการใช้ที่ดินนั้น จ้าเป็นต้องมีข้อมูลด้านกายภาพ
                       เพื่อหาปัจจัยในการวิเคราะห์คุณภาพที่ดินโดยปัจจัยด้านกายภาพ ประกอบด้วย ทรัพยากรดิน
                       ทรัพยากรน้้า และทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งแต่ละด้านนั้นมีหลักการและทฤษฎี ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                            3.1.1 ทรัพยากรดิน
                                กรมพัฒนาที่ดิน (2532) กล่าวว่า ทรัพยากรที่ดินเป็นสมบัติอันล้้าค่าที่โลกมอบไว้ ให้แก่
                       สัตว์โลกเพื่อการด้ารงชีพ และควรถือว่าเป็นสมบัติอันล้้าค่าของประเทศ ซึ่งมิอาจหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมา
                       ทดแทนได้ หากสูญเสียหรือเสื่อมโทรมลง ยิ่งไปกว่านั้นชาติจะเจริญยิ่งใหญ่ได้ต้องมีทรัพยากรที่ดินเป็น

                       พื้นฐาน จึงเป็นสิ่งจ้าเป็นที่ชนในชาติต้องพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ดินที่มีอยู่
                       ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการจัดการทรัพยากรที่ดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
                       ยังคงต้องยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรทั่วไปที่ว่า “ต้องมีการใช้อย่างฉลาด ใช้อย่างคุ้มค่าสมเหตุผล
                       โดยหลีกเลี่ยงมิให้เกิดของเสียหรือความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรที่ดินเองและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น

                       ทรัพยากรน้้า ป่าไม้ สัตว์ป่าพันธุกรรมหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรการท่องเที่ยว ฯลฯ
                       ถ้าเป็นไปได้ควรจะพิจารณาให้เป็นการใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน (Multiple  use)  คือ รู้จักการใช้
                       ประโยชน์หลายๆ ด้านพร้อมกันไป ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะกับสมรรถนะที่ดิน ไม่ว่าจะ
                       เป็นพื้นที่เกษตรกรรม อันได้แก่ การปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ ปลูกไม้ผล ใช้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้้าล้าธาร ที่อยู่อาศัย

                       และที่หลบภัยของสัตว์ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในประเทศอย่างทั่วถึง
                       และยุติธรรม” ที่กล่าวนี้เป็นการจัดการหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ดินโดยพิจารณาเป็นภาพรวม
                                กรมพัฒนาที่ดิน (2532) กล่าวว่า ดิน (Soil)  หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น

                       บนผิวโลก ช่วยค้้าจุนการทรงตัวของพืช อันประกอบด้วย แร่ธาตุ และอินทรียวัตถุต่างๆ มีลักษณะชั้น
                       แตกต่างกันตามวัตถุต้นก้าเนิดของดิน แต่มีความสัมพันธ์ต่อกันโดยกระบวนการก้าเนิดดิน การกระท้า
                       ของสภาพอากาศ ระยะเวลา ฯลฯ ดินโดยทั่วไปประกอบด้วย แร่ธาตุ อินทรียวัตถุ น้้า และอากาศ
                       ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน แต่ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ควรมีส่วนประกอบของแร่ธาตุ
                       45 เปอร์เซ็นต์ อินทรียวัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ น้้าในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน 25 เปอร์เซ็นต์ และอากาศซึ่ง

                       เป็นช่องว่างระหว่างเม็ดดิน 25 เปอร์เซ็นต์
                                ทรัพยากรที่ดินมีความส้าคัญต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศวิทยาเป็นอย่างยิ่ง
                       กรมพัฒนาที่ดิน (2532) ได้ให้ค้าจ้ากัดความเกี่ยวกับดินและที่ดินพอสรุปได้ ดังนี้

                                  1) ที่ดิน (Land)  ที่ดินที่มีความหมายต่างไปจากดิน  เพราะว่าค้าว่า ที่ดินหมายถึง
                       สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีที่อยู่เฉพาะแน่นอน เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีปริมาณจ้ากัดไม่สามารถเพิ่มขึ้น
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67