Page 66 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       49







                       ยังมีสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นองค์ประกอบส้าคัญของป่าพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งมีผลท้าให้ป่าไม้ สามารถอ้านวย
                       ประโยชน์ทุกๆ ด้านแก่มนุษย์ เช่น ภูเขา แม่น้้า อากาศ แร่ธาตุ ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย ถับถมกัน
                       อยู่ในพื้นดิน เป็นต้น
                                  1.1)  ประโยชน์ของป่าไม้  ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามากมายและ

                       อ้านวยประโยชน์มหาศาลให้แก่มนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากป่าไม้แยก
                       ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                                      (1) ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าไม้โดยตรง ได้แก่ การน้าพืช ต้นไม้ สัตว์ และ
                       ผลผลิตจากป่าอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ โดยตรงในการด้ารงชีวิต เช่น การน้าไม้มาสร้างที่อยู่อาศัย ใช้ท้า

                       เครื่องเรือน ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และการน้าส่วนต่างๆ ของผลผลิตพืชจากป่ามาท้าเป็น
                       ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องส้าอาง เป็นต้น
                                      (2) ประโยชน์ที่ได้รับจากป่าไม้โดยอ้อม ได้แก่ การเป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร
                       เป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติ และเป็นการหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่าเป็นแหล่ง

                       กักเก็บน้้าตามธรรมชาติ น้้าที่กักเก็บไว้จะค่อยๆ ซึมลงมารวมกันตามหุบเขาเป็นล้าธารที่มนุษย์
                       สามารถมีน้้าใช้ตลอดฤดูกาล นอกจากนั้นต้นไม้ ในป่ายังมีบทบาทส้าคัญที่ช่วยให้เกิดการหมุนเวียน
                       ของคาร์บอนไนโตรเจน น้้า และแร่ธาตุอื่นๆ

                                  1.2)  ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ ป่าไม้ให้สิ่งต่างๆ แก่มนุษย์มากมายในด้านความสัมพันธ์
                       ทางธรรมชาติเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่มีความส้าคัญต่อความสมดุลของสิ่งแวดล้อม เพราะถ้าเกิดการ
                       เปลี่ยนแปลงขึ้นกับป่าไม้แล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วยเสมอ เช่น ดิน น้้า อากาศ สัตว์
                       ป่า เป็นต้น สาเหตุส้าคัญที่ท้าให้พื้นป่าของประเทศไทยลดลงทุกปีเช่นนี้ ได้แก่
                                      (1) การลักลอบตัดไม้ท้าลายป่า เนื่องจากความต้องการเนื้อไม้เพื่อกิจการ

                       ต่างๆเช่น เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อการค้า หรือเพื่ออุตสาหกรรม เป็นต้น
                                      (2) การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น
                       ความต้องการในการใช้ที่ดิน เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และที่ดินท้ากินเพิ่มเติมตามไปด้วย ส่งผลท้าให้

                       ประชากรมีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ มีการถางป่าหรือเผาป่า เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและท้าไร่เลื่อนลอย
                                      (3) การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้้า
                       เส้นทางคมนาคม เป็นต้น การสร้างเขื่อนขวางล้าน้้า จ้าเป็นต้องมีบริเวณพื้นที่เก็บน้้าเหนือเขื่อน หรือ
                       การตัดถนนสายใหม่ บางสายจ้าเป็นต้องตัดผ่านพื้นป่า ท้าให้สูญเสียไม้และบริเวณพื้นป่าจ้านานมาก

                                      (4) การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อส่งออก เช่น กุ้งกุลาด้า ฯลฯ
                                  1.3)  ผลกระทบของการท้าลายป่าไม้  การที่ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ลดลงไม่ว่าจะด้วย
                       สาเหตุใดก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และมีผลกระทบต่อปัจจัยทางชีวภาพ
                       จึงมีผลกระทบต่อดินอากาศ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เนื่องจากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้

                       มีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ  เกิดการชะล้าง
                       พังทลายของที่ดิน เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เกิดน้้าท่วมในฤดูฝน คุณภาพน้้าเสื่อมลง เกิดปัญหา
                       โลกร้อนพืชและสัตว์ มีจ้านวนและชนิดลดลงขึ้นถึงขั้นสูญพันธุ์
                                  1.4)  การจัดการทรัพยากรป่าไม้ ปัญหาการลดน้อยของทรัพยากรของประเทศไทย

                       ในปัจจุบันเข้าสู่ขั้นวิกฤติและส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ต่อเนื่องกัน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71