Page 44 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                       34


                       ทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบ  โดยอัตราการปลดปล่อยจะเกิดขึ้นสูงใน 2  สัปดาห์แรก  ประมาณ
                       3 – 12 กรัมไนโตรเจนต่อดิน 100 กรัมของไนโตรเจนทั้งหมด  และหลังจากสัปดาห์ที่ 2 อัตราการ
                       ปลดปล่อยจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย  จากรายงานของส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)  พบว่า
                       การปลดปล่อยธาตุอาหารจากปุ๋ยหมักฤดูแรกของการเพาะปลูก  มีปริมาณไนโตรเจนน้อยกว่า 30

                       เปอร์เซ็นต์  ปริมาณฟอสฟอรัสในช่วง 60 – 70 เปอร์เซ็นต์  และปริมาณโพแทสเซียม 75 เปอร์เซ็นต์
                       ของทั้งหมด  ซึ่งพืชสามารถน าไปใช้ในการเจริญเติบโตส าหรับส่วนที่เหลือจะถูกปลดปล่อยให้เป็น
                       ประโยชน์ต่อพืชในฤดูต่อไป
                              เมื่อลดการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งตามค าแนะน า  สูตร 15 – 15 - 15 อัตรา 15.60 กิโลกรัมต่อไร่

                       และ 13 – 13 -  21 อัตรา 20.80 กิโลกรัมต่อไร่  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ 5 กิโลกรัมต่อต้น (ต ารับ
                       ที่ 7) เท่ากับ 1,040 กิโลกรัมต่อไร่  คิดเป็นปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม 17.52
                       36.24 และ 12.95 กิโลกรัมต่อไร่  ตามล าดับ  ให้ผลผลิตเท่ากับ 3,727 กิโลกรัมต่อไร่  ซึ่งผลผลิตไม่
                       แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยหมัก  อัตรา 20 กิโลกรัมต่อต้น  เท่ากับ 4,160 กิโลกรัมต่อไร่  ร่วมกับปุ๋ยเคมี

                       อัตราครึ่งหนึ่งตามค าแนะน า (ต ารับที่ 8)  คิดเป็นปริมาณไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม
                       เท่ากับ 54.96 129.84 และ 31.67 กิโลกรัมต่อไร่  ตามล าดับ  ผลผลิตเท่ากับ 3,432 กิโลกรัมต่อไร่
                       มีผลผลิตสูงกว่าจากการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (ต ารับที่ 2) สูตร 15 – 15 - 15 อัตรา 31.20

                       กิโลกรัมต่อไร่  และ 13 – 13 - 21 อัตรา 41.60 กิโลกรัมต่อไร่  มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                       โพแทสเซียม  เท่ากับ  10.09  10.09  และ 13.42  กิโลกรัมต่อไร่  ตามล าดับ  ผลผลิตเท่ากับ 3,276
                       กิโลกรัมต่อไร่  สอดคล้องกับการทดลองของ Singh and Varu (2013)  ศึกษาผลของการจัดการธาตุ
                       อาหารในการปลูกมะละกอพันธุ์ Madhunindu         จากการทดลองพบว่า  การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
                       Azotobactor 50 กรัมต่อต้น และ Phosphate-solubilizing microorganisms 2.50 กรัมต่อตาราง

                       เมตร  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามค าแนะน า (NPK – 100 : 100 : 125) ให้ผลผลิตมาก
                       ที่สุดเท่ากับ 16.00 ตันต่อไร่  และการใช้ปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน 10 กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี
                       อัตราครึ่งหนึ่งตามค าแนะน า (NPK  –  100  :  100  :  125) ผลผลิต 14.26  ตันต่อไร่  สูงกว่าการใช้

                       ปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า (NPK – 200 : 200 : 250) ผลผลิต 12.30 ตันต่อไร่
                              ส าหรับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ  อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น (ต ารับที่ 3) เท่ากับ 1,040 กิโลกรัมต่อไร่
                       มีปริมาณไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม  เท่ากับ 12.48  31.20 และ 6.24 กิโลกรัมต่อไร่
                       ตามล าดับ  ผลผลิตเท่ากับ 3,016 กิโลกรัมต่อไร่  ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยหมัก  อัตรา

                       20 กิโลกรัมต่อต้น (ต ารับที่ 4) ปริมาณปุ๋ยหมัก 4,160 กิโลกรัมต่อไร่  มีปริมาณไนโตรเจน
                       ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม เท่ากับ 49.92 124.80 และ 24.96 กิโลกรัมต่อไร่  ตามล าดับ  ผลผลิต
                       เท่ากับ 3,198 กิโลกรัมต่อไร่  ไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (ต ารับที่ 2) สูตร
                       15 –  15 - 15 อัตรา 31.20 กิโลกรัมต่อไร่  และ 13 – 13 - 21 อัตรา 41.60 กิโลกรัมต่อไร่  มี
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49