Page 45 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 45
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
35
ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเท่ากับ 10.09 10.09 และ 13.42 กิโลกรัมต่อไร่
ตามล าดับ ผลผลิตเท่ากับ 3,276 กิโลกรัมต่อไร่ จากการทดลองจะเห็นว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ย
หมัก และปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวจะให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน สอดคล้องกับการทดลองของ Dutta
et al. (2016) ทดสอบการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีในแปลงมะม่วง พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี
เพียงอย่างเดียว (NPK – 1000 : 500 : 1000 กรัมต่อต้นต่อปี) ส่งผลให้มะม่วงมีผลผลิตเท่ากับ
51.75 กิโลกรัมต่อต้น การเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว
(Azotobactor 150 กรัมต่อต้น ร่วมกับ Phosphate-solubilizing microorganisms 100 กรัมต่อ
ต้น) ผลผลิตเท่ากับ 54.12 กิโลกรัมต่อต้น และการใช้ปุ๋ยหมัก 10 กิโลกรัมต่อต้น ผลผลิต 50.35
กิโลกรัมต่อต้น
ส่วนต ารับที่ 1 แปลงควบคุมโดยไม่ใส่ปัจจัยใดๆ จะส่งผลต่อผลผลิตต่ าที่สุด เท่ากับ 1,560
กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องมาจากปัจจัยของการดูดใช้ธาตุอาหารจะส่งเสริมการเจริญเติบโตในช่วงแรกก่อน
ซึ่งหากไม่เพียงพอมะละกอจะเก็บสะสมไว้ใช้ในการเจริญเติบโตเท่านั้น (Jacquiline, 2008)
เช่นเดียวกับความต้องการธาตุอาหารในการปลูกแอปเปิ้ล พบว่า แอปเปิ้ลขาดธาตุอาหารหลัก
ไนโตรเจนจะส่งผลให้ผลผลิตต่ าที่สุด เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักจะให้ผลผลิตมากที่สุด 5.90 ตันต่อไร่ รองลงมาเป็นการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว
ผลผลิต 5.66 ตันต่อไร่ หากมีการให้ปุ๋ยเคมีเพียง 2 ธาตุอาหาร แอปเปิ้ลจะให้ผลผลิตลดลงจากการ
ให้ปุ๋ยไนโตรเจนร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมผลผลิต 4.58 ตันต่อไร่ การให้ไนโตรเจนร่วมกับฟอสฟอรัส
4.46 ตันต่อไร่ และการให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสร่วมโพแทสเซียมให้ผลผลิต 4.14 ตันต่อไร่ (Zuoping et al., 2014)
ตารางที่ 6 การจัดการดินที่มีต่อผลผลิตมะละกอ (กิโลกรัมต่อไร่)
ต้ารับทดลอง ผลผลิตมะละกอ
T1 1,560
T2 3,276
T3 3,016
T4 3,198
T5 5,079
T6 4,541
T7 3,727
T8 3,432
F-test ns
CV. % 38.10
หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ยในคอลัมน์เดียวกันที่มีอักษรเหมือนกันไม่แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยวิธี DMRT
ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ