Page 46 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                       36


                              จากการทดลอง  การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 20  กิโลกรัมต่อต้น  หรือการใช้ปุ๋ยชีวภาพอัตรา 5
                       กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน าส่งผลให้ผลผลิตสูงสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ
                       เนื่องจาก  ปริมาณธาตุอาหารจากการใช้ปุ๋ยหมัก  ชีวภาพ  ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี  มีปริมาณต่ ากว่า
                       ความต้องการธาตุอาหารของมะละกอ  โดย Cunha and Haag (1980)  รายงานว่า  ความต้องการ

                       ธาตุอาหารที่น ามาใช้ในการเพิ่มผลผลิตมะละกอ  จะมีไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมที่
                       เหมาะสมอัตรา 140 40 และ 200 กรัมต่อต้น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์  และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งในต ารับที่ 5
                       การใช้ปุ๋ยชีวภาพ 5  กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า  มีไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส
                       และโพแทสเซียมอัตรา 109  199  และ 95  กรัมต่อต้น  ตามล าดับ  ซึ่งมีปริมาณไนโตรเจนและ

                       โพแทสเซียมต่ า  แต่มีฟอสฟอรัสสูง  อย่างไรก็ตาม  การใช้ปุ๋ยชีวภาพนอกจากธาตุอาหารที่ได้รับแล้ว
                       ยังเกิดกิจกรรมจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน  ละลายฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  และสร้างสารเสริมการ
                       เจริญเติบโตหรือฮอร์โมน  สอดคล้องกับการทดลองของ Khan and Khan (1995) พบว่าหากมีการใส่
                       เชื้อจุลินทรีย์ Meloidogyne  incognita  และ Fusarium  solani  มีผลท าให้มีการปลดปล่อย

                       ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมได้เป็นสองเท่าเพิ่มการเจริญเติบโตของมะละกอ  ส่วนต ารับ
                       ที่ 6 การใช้ปุ๋ยหมัก 20 กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า  จะมีปริมาณธาตุอาหาร
                       เพียงพอส าหรับการเจริญเติบโตและผลผลิต  โดยมีไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมอัตรา

                       289 649 และ 185 กรัมต่อต้น  ตามล าดับ  จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้า ๆ จากรายงาน
                       ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)    พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจะปลดปล่อยไนโตรเจนน้อยกว่า 30
                       เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัส 60 – 70 เปอร์เซ็นต์  และโพแทสเซียม 75 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด  ซึ่งพืช
                       สามารถน าไปใช้ในการเจริญเติบโต  ส าหรับส่วนที่เหลือจะถูกปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในฤดู
                       ต่อไป  จะเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของอัตราปุ๋ยที่ใช้ทดลอง  แต่การใช้ปุ๋ยหมักจะ

                       เป็นปัจจัยในการดูดซับธาตุอาหาร  ลดการชะล้างจากการใช้ปุ๋ยเคมีภายใต้สภาพดินทราย  รวมทั้ง
                       การใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ขยายเชื้อด้วยปุ๋ยหมักจะมีอินทรียวัตถุในการดูดซับธาตุอาหารท าให้ได้รับธาตุ
                       อาหารที่ครบถ้วนและสมดุลในช่วงที่มีการเจริญเติบโตสามารถคงความอุดมสมบูรณ์ของดินในระดับดี

                       เอาไว้ระยะยาว (Brady  and  weil,  2004)  จากศึกษาความต้องการธาตุอาหารที่จะน าไปใช้ในการ
                       เพิ่มผลผลิตมะละกอ 15  ตัน  จะต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมอัตรา 184  15
                       251  กรัมต่อต้น (Zang  and  Rong,  2002)  ซึ่งการดูดใช้ธาตุอาหารของมะละกอนี้จะก าหนดโดย
                       ลักษณะทางพันธุกรรมของมะละกอในการน าธาตุอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตเป็นส าคัญ

                       นอกจากนี้  สิ่งแวดล้อมยังเป็นปัจจัยในการควบคุมความสมดุลของการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารของพืช
                       ในการเพิ่มผลผลิตมะละกอในพื้นปลูกเช่นกัน (เฉลิมพล, 2535)  สอดคล้องกับการทดลองของ Bindu
                       and Bindu (2017)  ได้ทดสอบความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม
                       ของมะละกอพันธุ์ CO – 2 ประเทศอินเดียที่เหมาะสมจะอยู่ที่อัตรา 250 250 และ 500 กรัมต่อต้น
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51