Page 39 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                       29


                       รัศมีทรงพุ่ม  และเส้นรอบวงล าต้นจะมีการเจริญเติบโตจะไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่าง
                       เดียว (ต ารับที่ 3)  และการใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว (ต ารับที่ 4) สอดคล้องกับการทดลองของ
                       Dutta et al. (2016) ทดสอบการใช้ปุ๋ยชีวภาพ  ปุ๋ยหมัก  และปุ๋ยเคมีในแปลงมะม่วง  พบว่า  การใช้
                       ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (NPK – 1000 : 500 : 1000 กรัมต่อต้นต่อปี)  ส่งผลให้มะม่วงเจริญเติบโต

                       ด้านความสูงเท่ากับ 6.00 เมตร  และทรงพุ่ม 5.97 x 8.11 เมตร การเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากการ
                       ใช้ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว (Azotobactor  150  กรัมต่อต้น  ร่วมกับ phosphate-solubilizing
                       microorganisms  100  กรัมต่อต้น) มะม่วงเจริญเติบโตของความสูงเท่ากับ 5.99  เมตร  มีทรงพุ่ม
                       5.84 x 5.91 เมตร  และการใช้ปุ๋ยหมัก 10 กิโลกรัมต่อต้น  สูง 6.10 เมตร  มีทรงพุ่ม 5.97 x 6.14

                       เมตร    แต่เมื่อมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ  ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50  เปอร์เซ็นต์  มีการเจริญเติบโตด้านความสูง
                       และทรงพุ่มมากที่สุดเท่ากับ 6.72 และ 6.37 x 6.92 เมตร  ตามล าดับ  จากการทดลองหากมีการใช้
                       ปุ๋ยชีวภาพ  อัตรา 5  กิโลกรัมต่อต้น  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีมีความเหมาะสมในการจัดการดินปลูก
                       มะละกอได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยหมัก  อัตรา 20  กิโลกรัมต่อต้น  ส่งผลให้มีลดการใช้ปุ๋ยหมักได้ถึง 75

                       เปอร์เซ็นต์
                              ส าหรับการทดลองในต ารับที่ 1 ไม่ใส่ปัจจัยใดๆ  พบว่า  มีการเจริญเติบโตด้านความสูง  รัศมีทรง
                       พุ่ม  และเส้นรอบวงต่ าที่สุด  เนื่องจากดินค่อนข้างเป็นดินทราย  มีอินทรียวัตถุต่ า  ปริมาณธาตุ

                       อาหารต่ าจึงไม่เพียงพอส าหรับต้นมะละกอ  โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมหากมะละกอ
                       ขาด  การเจริญเติบโตของมะละกอจะลดลงทันที (Thomas et al., 1995)  สอดคล้องกับการทดลอง
                       ของ Bindu  and  Bindu  (2017)  พบว่า มะละกอได้รับธาตุอาหารไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และ
                       โพแทสเซียมที่เหมาะสมจะอยู่ที่อัตรา 250 250 และ 500 กรัมต่อต้น ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก  เป็น
                       ช่วงระยะการเจริญเติบโตของมะละกอจะมีการเจริญเติบโตด้านความสูงมากที่สุด  แต่หากไม่มีการใส่

                       ปุ๋ยใดๆ ความสูงมะละกอต่ าสุด  โดยปกติมะละกอต้องการธาตุไนโตรเจนมากที่สุดในช่วงแรกของการ
                       เจริญเติบโต  รองลงมาได้แก่  โพแทสเซียม  และฟอสฟอรัส (Viegas et al., 1999)
                       4. ปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารของใบและล้าต้นมะละกอ

                              หลังการเก็บเกี่ยวมะละกอน าส่วนของใบและล าต้นมาวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของ
                       ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมทุกต ารับการทดลอง  มีผลการทดลองดังนี้
                         4.1 ปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนของใบและล้าต้นมะละกอ
                              ปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบมะละกอมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทาง

                       สถิติทุกต ารับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว (ต ารับที่ 3)  มีปริมาณความเข้มข้น
                       ไนโตรเจนสูงสุดเท่ากับ 5.41 เปอร์เซ็นต์  ไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยหมัก  ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา
                       ตามค าแนะน า (ต ารับที่ 6) มีปริมาณความเข้มข้นไนโตรเจนเท่ากับ 5.39 เปอร์เซ็นต์  มีปริมาณสูงกว่า
                       การใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว (ต ารับที่ 4)    การใช้ปุ๋ยชีวภาพ  ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตาม
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44