Page 36 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           25




                                2) แผนที่ต้องเขียนให้มีความถูกต้องมากที่สุด การแสดงเนื้อหาต้องชัดเจนจริงๆ โดยเฉพาะ
                  เรื่องที่ซับซ้อน

                                3) ในกรณีพื้นที่ที่จะแสดงมีขนาดใหญ่ และมีปริมาณข้อมูลมากจนต้องแสดงในแผนที่หลายฉบับ
                  อาจจะเกิดรายละเอียดตรงรอยเชื่อมต่อระหว่างแผนที่สูญหายได้

                                4) เมื่อข้อมูลได้บรรจุลงในแผนที่แล้ว การนําข้อมูลไปใช้ร่วมกับข้อมูลในชุดแผนที่อื่นๆ จะต้องใช้

                  ค่าใช้จ่าย และเป็นเรื่องยุ่งยากมาก
                                5) แผนที่ที่พิมพ์ขึ้นเป็นเอกสารข้อมูลเชิงคุณลักษณะที่คงรูป การวิเคราะห์พื้นที่เชิงปริมาณ

                  ภายในหน่วยพื้นที่ของแผนที่เฉพาะเรื่องจึงทําได้ยากที่สุด นอกจากต้องเริ่มเก็บข้อมูลกันใหม่ เพื่อให้ได้ผลตาม
                  วัตถุประสงค์เฉพาะในขณะนั้น

                             ดังนั้น การนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตแผนที่ โดยนําแผนที่กระดาษเป็นแผนที่ฐาน
                  เพื่อการนําข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในรูปแบบข้อมูลเชิงตัวเลข (digital data) ซึ่งข้อมูลจากแผนที่จะประกอบด้วย
                  ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่อยู่ในรูปแบบของจุด เส้น หรือพื้นที่ และข้อมูลรายละเอียดอาจจะให้สัญลักษณ์ สีรหัส

                  ตัวหนังสือ หรือตัวเลขลงในรายละเอียดข้อมูล

                        4.6 แบบจําลองระดับสูงเชิงเลขของสภาพภูมิประเทศ

                             การสร้างแบบจําลองระดับสูงเชิงเลข เป็นการนําข้อมูลพื้นที่ผิวเพื่อจําลองสภาพภูมิประเทศของ
                  พื้นที่โลก ซึ่งจะสามารถทําให้เข้าใจสภาพพื้นผิวของภูมิประเทศ และยังสามารถไปประกอบการวิเคราะห์
                  ในเรื่องของระดับความสูงการจําลองภาพสามมิติ และการวิเคราะห์งานอุทกศาสตร์ต่อไป โดยทั่วไปนิยมใช้

                  ข้อมูลเวกเตอร์รูปแบบ triangulated irregular network (TIN) ส่วนข้อมูลแรสเตอร์ (raster) นิยมใช้ข้อมูล
                  รูปแบบกริด หรือเรียกว่า digital elevation model (DEM) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีค่าความสูง (สุเพชร, 2555) แต่มี
                  ผู้ศึกษาบางท่านได้นําไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบอื่นๆ ที่ต้องอาศัยค่าเลขประจําพิกัด เช่น
                  pixel value หรือ Z value เป็นต้น และการประยุกต์ใช้มักนิยมใช้ในการประมาณค่าในช่วง (interpolation)

                  ได้แก่ ค่าระดับความสูงที่จัดเก็บด้วยจีพีเอส หรือการวัดระดับด้วยวิธี leveling ด้านงานสํารวจ โดยแบบจําลอง
                  ระดับสูงเชิงเลข สามารถนํามาวิเคราะห์ระดับความสูงต่ําของพื้นที่ ความลาดชันของพื้นที่ สร้างภาพ 3 มิติ
                  เพื่อแสดงลักษณะภูมิประเทศที่ใกล้เคียงความเป็นจริง

                             โดยปกติแล้วการจําลองสภาพภูมิประเทศต้องใช้ข้อมูลแบบจําลองพื้นผิวที่ต่อเนื่อง (continuous data)
                  แตกต่างจากการใช้หน่วยพื้นที่แสดงการใช้ที่ดิน ซึ่งเป็นลักษณะของข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง (discrete data)

                  โดยพื้นผิวความสูงที่ต่อเนื่องสามารถแสดงด้วย เส้นชั้นความสูง (contour line) ซึ่งเสมือนเป็นรูปหลายเหลี่ยม
                  ที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อย่างไรก็ตามเส้นชั้นความสูงไม่เหมาะที่จะใช้ในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข (numeric analysis)
                  หรือการทําแบบจําลองมากนัก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาวิธีการต่างๆ ที่จะสามารถแสดงการแปรเปลี่ยนทาง

                  ความสูงต่ําของพื้นที่เชิงตัวเลขคือ แบบจําลองความสูงเชิงเลข (digital elevation model: DEM) ซึ่งเป็น
                  แบบจําลองที่มีแต่ข้อมูลระดับความสูงเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแบบจําลองภูมิประเทศเชิงเลข
                  (digital terrain model: DTM) ที่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะระดับความสูงเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงข้อมูลลักษณะอื่นๆ
                  ของภูมิประเทศด้วย เช่น ความลาดชัน (slope) ทิศลาดเอียง (aspect) หรือความสูงเชิงเงา (shaded relief)
                  เป็นต้น แม้ว่า DEM ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจําลองระดับความสูงของพื้นผิว แต่วิธีนี้ยังสามารถนําไปใช้ในการจําลอง

                  ความแปรเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องของตัวแปรความสูงตัวอื่นๆ บนพื้นที่สองมิติได้อีกด้วย ซึ่งการแสดงข้อมูล
                  ความสูงต่ําของพื้นผิวในระบบภูมิสารสนเทศสามารถแสดงได้หลายลักษณะ ได้แก่
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41