Page 35 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           24




                                   ด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ สิ่งที่จําเป็นมากที่สุดในการจัดการทรัพยากร
                  สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติในสภาวะฉุกเฉิน คือ การรับรู้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อทําการตัดสินใจ
                  ให้เร็วที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด และมีประสิทธิผลมากที่สุด โดย GIS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงพื้นที่

                  ได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจําเป็นต่อมาตรการในการป้องกันแก้ไข
                  นอกจากนี้ยังใช้ GIS วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่ในรัศมีของการได้รับผลกระทบจากสารพิษ
                  เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้ายอพยพประชาชน การขนส่ง
                  อุปกรณ์ถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชน และเพื่อกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การวางแผนการ
                  ช่วยเหลือ ทําการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจําลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที ตามสภาพของข้อมูลที่

                  เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา

                        4.5 การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการสํารวจและทําแผนที่

                             สําหรับประเทศไทยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้มีการพัฒนาขึ้นมากในปัจจุบัน แต่ความเป็น
                  จริงได้มีการศึกษาวิจัยรูปแบบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาหลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า ระบบ
                  สารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น การสํารวจและจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ําได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน

                  (landuse) ลักษณะพืชพรรณ (vegetation type) ระดับความสูง (elevation) ความลาดชัน (slope) ทิศทาง
                  ลาดเท (aspect) ธรณีวิทยา (geology) และข้อมูลชุดดิน (soil) ของพื้นที่ลุ่มน้ําที่ศึกษา โดยรวบรวมอยู่ใน
                  รูปแบบของแผนที่ ซึ่งจัดเป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบหนึ่ง ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงเป็นเรื่อง
                  ที่เกี่ยวกับแผนที่ แล้วก่อนที่จะใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ใน

                  การผลิตแผนที่ (map processing) โดยเวลาที่มองบนกระดาษ แล้วเห็นเป็นเส้น เป็นแนว เป็นตัวอักษรแสดง
                  ชื่อสถานที่ และเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงลักษณะต่างๆ ของภูมิศาสตร์ อีกทั้งเมื่อพิจารณาดูให้ดี
                  จะเห็นว่าข้อมูลบนแผนที่นั้น คือ การบอกตําแหน่ง (location index) เช่น ลองจิจูด และละติจูด เป็นต้น
                  ดังนั้นการผลิตแผนที่คือการเปลี่ยนระบบพิกัดแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง รวมทั้งการย่อขยายหรือเปลี่ยน

                  มาตราส่วนของแผนที่ด้วย ต่อมาภายหลัง ค.ศ. 1960 จึงได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทําระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ในเรื่องเกี่ยวกับแผนที่ เพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่าง คือ การสร้างแผนที่และการเรียกค้นหาข้อมูลที่อยู่
                  ในแผนที่ (ครรชิต, 2535)

                             การจัดทําแผนที่นั้นมีวิธีการต่างๆ มากมาย อีกทั้งการเรียกค้นแผนที่ก็ไม่ใช่ง่าย และส่วนใหญ่ยัง

                  ต้องทําด้วยมือ แต่เรื่องที่ยุ่งยากที่สุดสําหรับงานแผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ ปริมาณข้อมูล
                  จํานวนมาก เพราะข้อมูลแสดงตําแหน่งในแผนที่ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ที่ใช้นั้นมีมาก
                  ตัวอย่างเช่น ในอดีตที่ผ่านมามีผู้คิดทําโครงการเสนอรัฐบาลสหรัฐให้จัดทําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเก็บ
                  ข้อมูลภูมิศาสตร์ของโลก โดยตีตารางกริดเป็นช่องห่างกันช่องละสิบเมตร และเก็บรายละเอียดตรงจุดตัดของ
                  เส้นบนตารางไว้ในคอมพิวเตอร์ พบว่าต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลขนาดเท่ากับตึกสองชั้น โดยใช้ขนาดเนื้อที่

                  เท่ากรุงเทพมหานครทั้งเมืองจึงจะเก็บข้อมูลได้หมด จากที่กล่าวมาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงไม่สามารถ
                  หลีกเลี่ยงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ในที่สุด

                             โดยปกติในการจัดทําแผนที่ในรูปแบบแผนที่กระดาษ (paper map) มีข้อจํากัดของรายละเอียดใน
                  การแสดงผล การเก็บรวบรวมข้อมูลลงในแผนที่กระดาษนั้นอาจจะจําแนกได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ (ศรีสะอาด, 2537)

                                1) มีการแสดงรายละเอียดหรือข้อมูลอย่างย่อด้วยเหตุที่เนื้อที่บนกระดาษจํากัด เพื่อให้เข้าใจ

                  ง่ายและนําเสนอได้ง่าย ทําให้ปริมาณข้อมูลเบื้องต้นลดลงอย่างมาก ทําให้รายละเอียดข้อมูลในระดับท้องถิ่น
                  หลายอย่างสูญหายไปจากระบบข้อมูล
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40