Page 132 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 132

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          108




                  และเมื่อเกิดการย่อยสลายอินทรียสารเหล่านี้จะปลดปล่อยโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์บางส่วนให้แก่ดิน ทําให้
                  มีโพแทสเซียมตกค้างในดินปริมาณสูง (Brady and Weil, 2008) รวมถึงเป็นอิทธิพลมาจากการใช้ปุ๋ย
                  โพแทสเซียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะบริเวณที่ทําการเกษตร

                             3.1.7 ความเป็นกรดที่สกัดได้

                                ความเป็นกรดที่สกัดได้ของดินที่ทําการศึกษาทั้ง 13 พีดอน ภาพที่ 41 (ก) พบว่า มีค่าอยู่ใน

                  ระดับต่ําถึงสูง (1.46 - 12.52 เซนติโมลต่อกิโลกรัม) โดยในชั้นดินบนและดินล่างมีค่าอยู่ในพิสัย 2.99 - 12.35
                  เซนติโมลต่อกิโลกรัม และ 1.46 - 12.52 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ตามลําดับ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
                  กลุ่มที่มีค่าความเป็นกรดที่สกัดได้อยู่ในระดับต่ําถึงค่อนข้างสูง มีค่าอยู่ในพิสัย 1.46 - 9.05 เซนติโมลต่อกิโลกรัม
                  ได้แก่ Skt, Don-gm,ant, Pae, AC-wd,col, Ws-vd, Ws-br, Ws, Ty, Bar และ Tl-lsk-2 ส่วนอีกกลุ่มนั้นมีค่า
                  ความเป็นกรดที่สกัดได้อยู่ในระดับสูง มีค่าอยู่ในพิสัย 10.09 - 12.52 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ได้แก่ Ml-lsk, Tl-lsk-1

                  และ Cg-low,f ซึ่งส่วนใหญ่ชั้นดินบนมีค่าสูงกว่าชั้นดินล่าง และมีแนวโน้มลดลงตามความลึก ซึ่งมีความสัมพันธ์
                  กับผลการศึกษาค่าปฏิกิริยาดินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึก นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มความสัมพันธ์
                  ในทางเดียวกับปริมาณอินทรียวัตถุของดิน เนื่องจากอินทรียวัตถุมีค่าสูงในชั้นดินบนสามารถดูดซับไฮโดรเจนไอออน

                  ได้มาก (วิทยา, 2551; Foth, 1984; Tan, 1993) หรืออาจเกิดจากกระบวนการสลายตัวของอินทรียวัตถุที่จะมี
                  การแตกตัวของอนุมูลกรด และปลดปล่อยไฮโดรเจนไอออนให้แก่ดิน (Brady and Weil, 2008) ทําให้ชั้นดินบน
                  มีความเป็นกรดที่สกัดได้สูงกว่าชั้นดินล่าง และมีค่าลดลงตามความลึก


                                                                         -1
                                               -1
                         (ก)   Exchangeable acidity (cmol kg )  (ข)   CEC by NH OAc (cmol kg )  (ค)   Base saturation (%)
                                                                4
                           0      5     10     15       0     10     20    30       0         50        100
                         0                            0                           0
                        25                           25                           25


                        50                           50                           50

                        75                           75                           75
                      Depth (cm)  100               100                          100



                       125                          125                          125

                       150                          150                          150

                       175                          175                          175


                       200                          200                          200




                  ภาพที่ 41 ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นกรดที่สกัดได้ (ก) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (ข) และอัตรา
                           ร้อยละความอิ่มตัวเบส (ค) กับความลึกของดิน
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137