Page 128 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 128

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          104




                             3.1.2 ความหนาแน่นรวมของดิน

                                ผลการวิเคราะห์ความหนาแน่นรวมของดินทั้ง 13 พีดอน โดยวิธี core method
                  (Blake and Hartge, 1986) และจําแนกตามเกณฑ์การแบ่งระดับความหนาแน่นรวมของดิน ตามตารางผนวกที่ 3
                  (นงคราญ, 2529) พบว่า มีค่าอยู่ในระดับต่ําถึงค่อนข้างสูง โดยในชั้นดินบนมีค่าอยู่ในพิสัย 1.04 - 1.59
                  เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ในพิสัย 0.96 - 1.77 เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

                  ซึ่งส่วนใหญ่ความหนาแน่นรวมของดินทั้ง 13 พีดอน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึก (ภาพที่ 37)
                  ค่าความหนาแน่นรวมของดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณอินทรียวัตถุและการสะสมดินเหนียว การที่ค่า
                  ความหนาแน่นรวมของดินส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึก เนื่องจากในดินบนมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงกว่า

                  และมีการเคลื่อนย้ายดินเหนียวจากชั้นดินบนลงสู่ชั้นดินล่าง อนุภาคที่มีขนาดเล็กละเอียดจะแทรกตัว
                  อยู่ในช่องว่างในดิน ทําให้ดินมีการอัดตัวมากขึ้นในชั้นดินล่าง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548; นฤมล, 2551;
                  Adams, 1973; Brady and Weil, 2008)


                                                                 -3
                                                     Bulk density (Mg m )
                                             0.5       1       1.5       2       Skt
                                           0
                                                                                 Don-gm,ant
                                           25                                    Pae
                                                                                 AC-wd,col
                                           50                                    Ws-vd
                                                                                 Ws-br
                                           75                                    Ws
                                         Depth (cm)  100                         Ty



                                          125                                    Ml-lsk
                                                                                 Bar
                                          150                                    Tl-lsk-1
                                                                                 Tl-lsk-2
                                          175
                                                                                 Cg-low,f

                                          200

                  ภาพที่ 37 ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นรวมกับความลึกของดิน


                             3.1.3 ปฏิกิริยาดิน
                                ผลการวิเคราะห์ค่าปฏิกิริยาดินของดินทั้ง 13 พีดอน จากห้องปฏิบัติการด้วยวิธีใช้ดินต่อน้ําใน

                  อัตราส่วน 1:1 พบว่า มีค่าปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วงเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างจัด (pH 5.1 - 8.8) โดยชั้นดินบนมีค่า
                  ปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วงเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.1 - 6.8) ส่วนชั้นดินล่างมีค่าปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วงเป็นกรด
                  จัดถึงเป็นด่างจัด (pH 5.1 - 8.8) ซึ่งค่าปฏิกิริยาดินของดินที่ทําการศึกษาส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลงตามความลึก

                  ยกเว้น Don-gm,ant, AC-wd,col, Ws-br และ Tl-lsk-1 มีแนวโน้วเพิ่มขึ้นตามความลึก ส่วน Cg-low,f มีค่า
                  ปฏิกิริยาดินค่อนข้างคงที่ ดังภาพที่ 38 (ก) และเมื่อพิจารณาค่าปฏิกิริยาดินต่อโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl)
                  ในอัตราส่วน 1:1 พบว่า มีค่าปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วงกรดรุนแรงถึงเป็นกลาง (pH 3.5 - 7.2) โดยส่วนใหญ่
                  มีแนวโน้มลดลงตามความลึก ยกเว้น Don-gm,ant, AC-wd,col และ Ws-br มีแนวโน้วเพิ่มขึ้นตามความลึก
                  ดังภาพที่ 38 (ข)
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133