Page 127 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 127

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          103




                                การแจกกระจายของอนุภาคขนาดทรายแป้งของดิน พบว่า มีความแปรปรวนไม่สม่ําเสมอ
                  โดยอนุภาคขนาดทรายแป้งในชั้นดินบนมีค่าอยู่ในพิสัย 69 - 575 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ใน
                  พิสัย 98 - 564 กรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันเป็นช่วงๆ แต่อยู่ในพิสัยที่ไม่กว้างนัก และ

                  เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 13 พีดอน พบว่า การแจกกระจายของอนุภาคขนาดทรายแป้งมีปริมาณมากที่สุดใน
                  Don-gm,ant และต่ําสุดใน AC-wd,col ดังภาพที่ 36 (ข)

                                การแจกกระจายของอนุภาคขนาดดินเหนียวของดิน ดังภาพที่ 36 (ค) พบว่า ในชั้นดินบน
                  มีค่าอยู่ในพิสัย 30 - 530 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ในพิสัย 55 - 561 กรัมต่อกิโลกรัม และ
                  เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 13 พีดอน พบว่า การแจกกระจายของอนุภาคขนาดดินเหนียวมีปริมาณมากที่สุดใน Cg-low,f

                  รองลงมาคือ Ws-br, Skt, Ws-vd, Don-gm,ant, Ws, Ml-lsk, Ty, Tl-lsk-2, Bar, Pae และ Tl-lsk-1 ตามลําดับ
                  ส่วน AC-wd,col มีปริมาณต่ําที่สุด โดยส่วนใหญ่การสะสมของอนุภาคขนาดดินเหนียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
                  ความลึก แสดงถึงการมีพัฒนาการของหน้าตัดดิน (Buol et al., 2011) การสะสมดินเหนียวในชั้นดินล่าง
                  อาจเกิดขึ้นได้จากหลายกระบวนการ เช่น เกิดจากกระบวนการเคลื่อนย้ายวัสดุออกจากชั้นดินบน

                  (eluviation) ลงไปสะสมในชั้นดินล่าง กระบวนการเคลื่อนย้ายวัสดุเข้ามาสะสมในชั้นดินล่างทําให้เกิดชั้นดิน
                  ที่มีการสะสมของวัสดุดิน (illuviation) หรือเกิดจากอิทธิพลของกระบวนการเคลื่อนย้ายเชิงกล (lessivage)
                  ของอนุภาคขนาดเล็กจากชั้นดินบนลงสู่ชั้นดินล่าง ทําให้ชั้นดินล่างมีอนุภาคขนาดเล็กโดยเฉพาะอนุภาค
                  ขนาดดินเหนียวเพิ่มมากขึ้น (เอิบ, 2548)



                        (ก)     Sand (g kg )           (ข)     Silt (g kg )           (ค)   Clay (g kg )
                                                                                                  -1
                                                                    -1
                                      -1
                           0 200 400 600 800 1,000       0   200  400  600  800        0    200   400  600
                         0                             0                             0
                        25                            25                            25


                        50                            50                            50

                        75                            75                            75
                       Depth (cm)  100               Depth (cm)  100              Depth (cm)  100



                        125                           125                           125

                        150                           150                           150

                        175                           175                           175


                        200                           200                           200





                  ภาพที่ 36 ความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคขนาดทราย (ก) อนุภาคขนาดทรายแป้ง (ข) และอนุภาคขนาด
                           ดินเหนียว (ค) กับความลึกของดิน
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132