Page 133 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 133

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          109




                             3.1.8 ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน

                                ผลวิเคราะห์ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินที่ทําการศึกษาทั้ง 13 พีดอน ภาพที่ 41 (ข)
                  พบว่า มีค่าอยู่ในระดับต่ําถึงสูง (3.86 - 26.21 เซนติโมลต่อกิโลกรัม) ซึ่งในชั้นดินบนและดินล่างมีค่าอยู่ในพิสัย
                  4.34 - 26.21 เซนติโมลต่อกิโลกรัม และ 3.86 - 24.02 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ตามลําดับ และดินส่วนใหญ่มี
                  แนวโน้มลดลงตามความลึก ซึ่งค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณ

                  อินทรียวัตถุในดิน รวมถึงชนิดและปริมาณของแร่ดินเหนียวที่มีอยู่ในดิน โดยในชั้นดินบนจะมีค่าความจุแลกเปลี่ยน
                  แคตไอออนสูงกว่าในชั้นดินล่าง ทั้งนี้เนื่องจากในชั้นดินบนมีปริมาณอินทรียวัตถุที่สูงกว่าชั้นดินล่าง
                  ส่วนในชั้นดินล่างนั้น ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินเป็นผลมาจากชนิด และปริมาณของแร่ดินเหนียว

                  (Sanchez, 1976; Young, 1976; Brady and Weil, 2008) โดยใน Ws-br มีความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน
                  อยู่ในระดับสูงตลอดหน้าตัดดิน เนื่องจากมีวัตถุต้นกําเนิดดินเป็นหินดินดาน ซึ่งจะพบแร่อิลไลต์และคลอไรต์
                  เป็นส่วนใหญ่ (เอิบ, 2548)

                             3.1.9 อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส

                                อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสของดินที่ทําการศึกษาทั้ง 13 พีดอน ภาพที่ 41 (ค) พบว่า มีค่าอยู่ใน
                  ระดับต่ําถึงสูงทั้งในชั้นดินบน และชั้นดินล่าง โดยชั้นดินบนมีค่าอยู่ในพิสัย ร้อยละ 26.12 - 83.89 และชั้นดินล่าง

                  มีค่าอยู่ในพิสัย ร้อยละ 18.41 - 91.37 ส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลงตามความลึก ยกเว้น Skt, Don-gm,ant,
                  AC-wd,col, Ws-br และ Bar มีค่าอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึก โดยบริเวณ
                  ที่มีค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสสูงกว่าร้อยละ 35 เนื่องจากการชะละลายยังไม่มากพอ ทําให้ธาตุที่เป็นด่าง
                  สะสมอยู่ในชั้นหน้าตัดดิน และค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสที่คํานวณได้จะมีความสอดคล้องกับปริมาณ

                  เบสรวมที่สกัดได้ ความเป็นกรดที่สกัดได้ และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ซึ่งแนวโน้มความสัมพันธ์
                  ระหว่างค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสกับความลึกของดินที่มีความผันแปรบางบริเวณเพิ่มขึ้น และลดลงตาม
                  ความลึกของดิน อาจเนื่องมาจากอิทธิพลการชะละลายที่ไม่รุนแรงมากพอ และมีการชะละลายที่ไม่สม่ําเสมอ
                  ในหน้าตัดดิน (Thomson and Troeh, 1978; Sanchez et al. 1983; Brady and Weil, 2008)

                             3.1.10 องค์ประกอบเชิงแร่ในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียวและอนุภาคขนาดทรายแป้ง

                                ผลการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณองค์ประกอบเชิงแร่ในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว และ

                  อนุภาคขนาดทรายแป้งของดินที่ทําการศึกษาทั้ง 13 พีดอน แสดงไว้ในตารางที่ 10 โดยผลการศึกษากลุ่ม
                  อนุภาคขนาดดินเหนียว มีดังนี้

                                ชุดดินสุโขทัย (Skt) พบว่า แร่องค์ประกอบหลักในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว คือ แร่อิลไลต์
                  โดยมีการแจกกระจายในปริมาณปานกลางตลอดหน้าตัดดิน (20 – 40 เปอร์เซ็นต์) และพบแร่เคโอลิไนต์
                  ปริมาณน้อย (5 – 20 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงแร่ดินเหนียวสอดชั้น 1.0 & 1.4 นาโนเมตรในปริมาณเล็กน้อย (น้อยกว่า

                  5 เปอร์เซ็นต์) ตลอดหน้าตัดดิน

                                ดินดงยางเอนที่มีจุดประสีเทาและมีคันนา (Don-gm,ant) พบว่า ตลอดหน้าตัดดินมีแร่เคโอลิไนต์
                  และแร่อิลไลต์เป็นองค์ประกอบหลัก โดยมีการแจกกระจายในปริมาณปานกลาง (20 – 40 เปอร์เซ็นต์)
                  และมีแร่เวอร์มิคิวไลต์ในปริมาณน้อย (5 – 20 เปอร์เซ็นต์) ส่วนแร่ควอตซ์มีปริมาณเล็กน้อย (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์)

                                ชุดดินแพร่ (Pae) พบว่า ตลอดหน้าหน้าตัดดินมีแร่เวอร์มิคิวไลต์เป็นองค์ประกอบหลัก

                  โดยมีการแจกกระจายในปริมาณปานกลาง (20 - 40 เปอร์เซ็นต์) ในตอนบนของหน้าตัดพบแร่เคโอลิไนต์ใน
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138