Page 131 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 131

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          107




                  และปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินทุกพีดอนมีแนวโน้มลดลงตามความลึก ภาพที่ 40 (ก) ทั้งนี้เนื่องจาก
                  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีความสัมพันธ์กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูป
                  ฟอสเฟตอินทรีย์ (Tisdal and Nelson, 1975; Sanchez, 1976) จึงทําให้ชั้นดินบนมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                  ประโยชน์สูงกว่าในชั้นดินล่าง อีกทั้งการที่มีปริมาณดินเหนียวเพิ่มขึ้นในชั้นดินล่างจะทําให้ความเป็นประโยชน์
                  ของฟอสฟอรัสลดลง (Brady and Weil, 2008) เนื่องจากกลุ่มไฮดรอกซิลในแผ่นอะลูมินาของแร่ดินเหนียว
                  ชนิดเคโอลิไนต์สามารถแลกเปลี่ยนกับฟอสฟอรัสได้ (Halvin et al., 2005) นอกจากนี้การที่ดินมีปริมาณ
                  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในระดับต่ํานั้น เป็นลักษณะทั่วไปของดินที่มีพัฒนาการดี (วรพันธ์, 2531;
                  Sanchez et al., 1983) และดินผ่านการชะละลายมานาน ทําให้มีปฏิกิริยาดินต่ํา ส่งผลให้ฟอสเฟตถูกตรึงโดย

                                                    3+
                  ไอออนบวกที่ละลายได้ พวก Fe , Al  ไฮดรัสออกไซด์ของเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีส เกิดเป็น
                                               2+
                  สารประกอบที่ละลายน้ํายากของสารประกอบเหล็กฟอสเฟตและสารประกอบอะลูมินัมฟอสเฟต จึงส่งผลให้
                  ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินลดต่ําลง (ชัยฤกษ์, 2536)

                            (ก)                                 (ข)
                                                                                 -1
                                              -1
                                    Avail. P (mg kg )                   Avail. K (mg kg )
                            0    10   20    30   40   50       0    100  200   300  400  500       Skt
                          0                                  0
                                                                                                   Don-gm,ant
                         25                                 25                                     Pae
                                                                                                   AC-wd,col
                         50                                 50                                     Ws-vd
                                                                                                   Ws-br
                         75                                 75                                     Ws
                       Depth (cm)  100                     100                                     Ty



                        125                                125                                     Ml-lsk
                                                                                                   Bar
                        150                                150                                     Tl-lsk-1
                                                                                                   Tl-lsk-2
                        175                                175
                                                                                                   Cg-low,f

                        200                                200

                  ภาพที่ 40 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (ก) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (ข)

                           กับความลึกของดิน

                             3.1.6 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์

                                ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินที่ทําการศึกษาทั้ง 13 พีดอน พบว่า มีค่าอยู่ในระดับ
                  ต่ําถึงสูงมาก ภาพที่ 40 (ข) โดยอยู่ในพิสัย 32 - 455 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งในชั้นดินบนและชั้นดินล่างมีค่า
                  อยู่ในพิสัย 44 - 455 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 32 - 305 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลําดับ โดยในชั้นดินบนของ

                  Pae, AC-wd,col, Ws-br, Ws, Ty, Ml-lsk และ Bar มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับสูงมาก
                  (145 - 455 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) คาดว่าเป็นผลตกค้างจากการจัดการดินและปุ๋ยในการปลูกพืช เมื่อพิจารณา
                  ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์กับความลึกของดิน พบว่า ส่วนใหญ่ชั้นดินบนมีค่า
                  สูงกว่าชั้นดินล่าง และมีแนวโน้มลดลงตามความลึก ทั้งนี้เป็นผลมาจากอิทธิพลของอินทรียวัตถุในดิน โดยใน
                  ชั้นดินบนมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ซึ่งอินทรียวัตถุเป็นวัสดุที่มีความสามารถในการดูดซับแคตไอออนได้สูง
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136