Page 129 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 129

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          105





                                 (ก)    pH (1:1 H O)            (ข)     pH (1:1 KCl)
                                              2
                               4    5    6    7    8   9       3    4    5   6    7    8       Skt
                             0                               0
                                                                                               Don-gm,ant

                             25                             25                                 Pae
                                                                                               AC-wd,col
                             50                             50                                 Ws-vd

                                                                                               Ws-br
                             75                             75                                 Ws
                           Depth (cm)  100                  100                                Ty



                            125                             125                                Ml-lsk
                                                                                               Bar

                            150                             150                                Tl-lsk-1
                                                                                               Tl-lsk-2
                            175                             175
                                                                                               Cg-low,f
                            200                             200

                  ภาพที่ 38 ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาดินที่วัดในน้ํา (ก) ในสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ (ข) กับความลึกของดิน

                                เมื่อพิจารณา Don-gm,ant, Ws-vd, Ty และ Tl-lsk-1 พบว่า ชั้นดินบนมีค่าปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วง
                  เป็นกรดจัด (pH 5.1 - 5.5) ซึ่งดินที่มีค่าปฏิกิริยาดินต่ํากว่า 5.5 นั้น จะทําให้อะลูมิเนียมละลายออกมามาก

                  จนเป็นพิษต่อพืช (Brady, 1990; Halvin et al., 2005) ในสภาพที่ดินเป็นกรด อะลูมิเนียมจะละลายในรูป
                                                          2+
                                              3+
                  Monomeric Al โดยเฉพาะรูป Al  และ AlOH  (Mengel and Kirkby, 1987) ซึ่งจัดเป็นรูปที่เป็นพิษต่อพืช
                  โดยธาตุฟอสฟอรัสจะรวมตัวเป็นสารประกอบกับเหล็กและอะลูมิเนียม ซึ่งละลายยากและเป็นรูปที่ไม่เป็น
                  ประโยชน์ต่อพืช (วิทยา, 2551; Brady, 1990; Landon, 1991; Halvin et al., 2005) การที่ดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดนั้น

                  เป็นลักษณะดินทั่วไปในเขตร้อนที่มีพัฒนาการค่อนข้างดี และมีการชะละลายสูง (Sanchez, 1976; Eiumnoh et al., 1984)
                  ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการชะละลายประจุบวกที่เป็นด่างออกไปจากหน้าตัดดิน แล้วมีไฮโดรเจนไอออน
                  มาสะสมอยู่ที่ผิวอนุภาคดิน การที่ดินมีค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดมากกว่าแสดงถึงมีการชะละลายที่มากกว่า
                  และพัฒนาการค่อนข้างสูงกว่าด้วย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548; Brady and Weil, 2008)


                                ค่าปฏิกิริยาของดินที่วัดด้วยน้ํามีค่าสูงกว่าที่วัดด้วยสารละลาย 1 M KCl ทําให้ผลต่างของ
                  ค่าปฏิกิริยาของดินมีค่าเป็นลบ แสดงให้เห็นว่า ผลรวมประจุสุทธิของดินเป็นลบ จะทําให้ดินมีระบบที่เน้นการ
                  แลกเปลี่ยนประจุบวกหรือไอออนบวก ซึ่งเป็นธรรมชาติของระบบที่ถูกควบคุมด้วยอิทธิพลของแร่ดินเหนียว
                  ซิลิเกตกับออกไซด์ และโดยทั่วไปมีสารเคลือบส่วนใหญ่เป็นพวกเซสควิกออกไซด์ (Sanchez, 1976)
                  ค่าปฏิกิริยาของดินในทุกบริเวณมีค่าปฏิกิริยาเป็นกรด ซึ่งเป็นผลมาจากการชะละลายไอออนบวกที่เป็นด่าง

                  ออกไปจากหน้าตัดดิน ทําให้เกิดการสะสมไฮโดรเจนไอออนที่ผิวอนุภาคดินเหนียวในปริมาณมาก แต่อิทธิพล
                  จากการชะละลายในหน้าตัดดินที่ไม่รุนแรงมากพอ ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายไอออนบวกที่เป็นด่างลงไปสะสมใน
                  ชั้นดินล่าง ค่าปฏิกิริยาของดินจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึกของดิน (เอิบ, 2534; บรรณพิชญ์, 2551; วิทยา, 2551;

                  Young, 1976) ดังเช่นใน Don-gm,ant, AC-wd,col, Ws-br และ Tl-lsk-1 ค่าปฏิกิริยาดินอาจจะไม่เป็น
                  ข้อจํากัดต่อการปลูกพืชรากลึกที่ไม่ทนทานต่อความเป็นพิษของอะลูมิเนียม
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134