Page 80 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               72







                       และพันธุ์เขียวเสวย ปลูกเพื่อการส่งออก โดยเป็นความต้องการของตลาดในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี
                       เวียดนาม และจีน ไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงของจังหวัดและมีพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น คือ ส้มโอ
                       ปลูกมากที่อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งปลูกส้มโอที่ส าคัญของประเทศไทย
                       จังหวัดพิจิตรปลูกส้มโอเพื่อส่งออกไปต่างประเทศเป็นจ านวนมาก อย่างที่ทราบกันว่า จังหวัดพิจิตร

                       มีชื่อเสียงเรื่องของส้มโอ “ท่าข่อย” แต่จริงๆ แล้ว จังหวัดพิจิตรปลูกส้มโอสายพันธุ์ขาวแตงกวา และทองดี
                       เป็นจ านวนมาก และมีจ านวนผลผลิตมากพอที่จะขายป้อนตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดประเทศจีน
                       ที่มีความต้องการส้มโอจากประเทศไทยเป็นจ านวนมาก และราคารับซื้อจากสวนเกษตรกรค่อนข้าง
                       ดีกว่าราคาซื้อขายในประเทศ

                                  3)    การเห็นแบบอย่างที่ประสบความส าเร็จ เห็นได้จากกรณีการปลูกมะม่วงเพื่อการ
                       ส่งออกในต าบลวังทับไทร อ าเภอสากเหล็ก ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงกลุ่มแรกมีการปลูกมะม่วงแล้ว
                       ขายได้ราคา ประกอบกับมีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปให้การส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้มีการ
                       รวมกลุ่มกันท าการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ท าให้มีการบริหารจัดการและการตลาดไปในทิศทางเดียวกัน

                       ส่งผลให้มีอ านาจต่อรองทางการตลาดและการปลูกมะม่วงมีการลงทุนลดลง เกษตรกรที่ท าการปลูก
                       พืชชนิดอื่นในพื้นที่ใกล้เคียงเห็นเกษตรกรชาวสวนมะม่วงกลุ่มแรกปลูกและประสบความส าเร็จได้ราคาดี
                       มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ จึงให้ความสนใจเปลี่ยนมาปลูกมะม่วง

                       เพิ่มมากขึ้น อีกกรณีหนึ่งเป็นกรณีการปลูกกล้วยในเขตอ าเภอบึงนาราง ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกกลุ่มแรก
                       เป็นเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งไม่สามารถท านาข้าวได้ จึงคิดหาพืชชนิดอื่นปลูกแทนเพื่อทดแทน
                       รายได้จากการไม่ได้ท านาข้าว ซึ่งในขณะนั้นกล้วยน้ าว้ามีความต้องการสูง เกษตรกรกลุ่มนี้จึงเลือกปลูก
                       กล้วยน้ าว้าที่ใช้น้ าน้อยกว่าการท านาและใช้เวลาปลูกเพียง 8-9 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ และ
                       ยังสามารถตัดกล้วยขายได้อย่างต่อเนื่อง การปลูกกล้วยของเกษตรกรกลุ่มแรกประสบความส าเร็จ

                       ขายได้ราคาดี ท าให้ได้ผลตอบแทนสูง ส่งผลให้เกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงให้ความสนใจหันมาปลูกกล้วย
                       กันมากขึ้นโดยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่เดิมเคยท านาข้าว เป็นต้น
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85