Page 81 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 81

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                73







                                                             บทที่ 5
                                             สรุป ข้อเสนอแนะ และประโยชน์ที่ได้รับ


                       5.1  สรุปผลการศึกษา
                            จากการส ารวจ จัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                       จังหวัดพิจิตร โดยการน าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้จากเทคโนโลยีด้านการ

                       รับรู้จากระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และระบบก าหนดต าแหน่งบนโลก มาใช้เพื่อให้ได้
                       ข้อมูลเชิงพื้นที่หรือข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ส าหรับใช้ในการก าหนดเขตพัฒนาที่ดิน และวางแผน
                       การใช้ที่ดินด้านการเกษตรให้เหมาะสมต่อศักยภาพของพื้นที่ สรุปผลได้ดังนี้
                            5.1.1 สภาพการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2559

                                  จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 2,831,883  ไร่ จากการด าเนินการส ารวจพ.ศ. 2559
                       พบว่า สามารถจ าแนกประเภทการใช้ที่ดินหลักได้ออกเป็น 5 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้
                                  1)    พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ทั้งหมด 203,243 ไร่ หรือร้อยละ 7.17 ของ

                       เนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย ตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้านบนพื้นที่ราบ สถานที่ราชการและสถาบัน
                       ต่าง ๆ สถานีคมนาคม ย่านอุตสาหกรรม สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ และสนามกอล์ฟ โดยพบว่าหมู่บ้าน
                       บนพื้นที่ราบเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยตั้งกระจายทั่วไปตามสองข้างถนน และริมฝั่งแม่น้ า
                       ล าคลอง และมีการตั้งหมู่บ้านเป็นหย่อมในพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบหรือพื้นที่ดอน
                                  2)    พื้นที่เกษตรกรรม  มีเนื้อที่  2,466,243 ไร่ หรือร้อยละ 87.07 ของเนื้อที่จังหวัด

                       เป็นประเภทการใช้ที่ดินที่มากเป็นอันดับ 1  ของจังหวัด แสดงให้เห็นถึงอาชีพหลักของประชากรจังหวัด
                       พิจิตร ประกอบด้วย  พื้นที่นา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ พืชน้ า
                       สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม โดยพบว่าพื้นที่นาพบมากที่สุดในพื้นที่

                       เกษตรกรรมทั้งหมด พื้นที่เพาะปลูกที่ส าคัญ  ได้แก่  อ าเภอเมืองพิจิตร อ าเภอบางมูลนาก อ าเภอโพทะเล
                       อ าเภอสามง่าม และอ าเภอตะพานหิน เป็นต้น
                                  3)    พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 23,345 ไร่ หรือร้อยละ 0.82 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                       ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู ป่าผลัดใบสมบูรณ์ และป่าปลูก โดยพบป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟูมากที่สุด

                       12,707 ไร่ พบมากในพื้นที่อ าเภอโพทะเล อ าเภอทับคล้อ และอ าเภอวชิรบารมี
                                  4)    พื้นที่น้ า มีเนื้อที่ 76,637 ไร่ หรือร้อยละ 2.72 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                       แหล่งน้ าธรรมชาติ และแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น  โดยพบว่าจังหวัดพิจิตรมีแหล่งน้ าทางธรรมชาติที่ส าคัญ
                       ได้แก่ แม่น้ ายม แม่น้ าน่าน แม่น้ าพิจิตร และบึงสีไฟ

                                  5)    พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 62,415 ไร่ หรือร้อยละ 2.22 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                       ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ พื้นที่ลุ่ม เหมืองแร่ บ่อขุด พื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ และที่ทิ้งขยะ โดยพบว่าเหมืองแร่
                       มีพื้นที่มากที่สุด 5,863 ไร่ ที่ส าคัญได้แก่
                                        (1)  เหมืองแร่ทองค าของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จ ากัด มหาชน จ ากัด ตั้งอยู่

                       บริเวณรอยต่ออ าเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร อ าเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ และอ าเภอเนินมะปราง
                       จังหวัดพิษณุโลก เป็นแหล่งผลิตโลหะทองค าและเงินใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเหมืองแร่
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86