Page 78 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 78

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               70







                       พืชที่ใช้น้ าน้อย มีความเสี่ยงน้อยและให้ผลตอบแทนมากกว่า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบมากที่สุดใน
                       เขตอ าเภอโพธิ์ประทับช้าง อ้อย และกล้วยพบมากที่สุดในเขตอ าเภอบึงนาราง เป็นต้น
                                  2)    สภาพภูมิประเทศ จังหวัดพิจิตรมีสภาพพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ าน่านที่มี
                       ความลาดเทจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก โดยบริเวณที่ติดแม่น้ าน่านจะมีพื้นที่ค่อนข้างต่ า

                       บริเวณพื้นที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม มีสภาพพื้นที่ลาดเทจากทิศเหนือแล้วค่อย ๆ
                       ลาดต่ าลงไปทางทิศใต้ และพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ ายม  มีสภาพพื้นที่ลาดเทจากทิศตะวันตก
                       ไปทางทิศตะวันออก (ส านักงานจังหวัดพิจิตร, 2560ก) จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง พบว่า
                       บริเวณทางด้านทิศตะวันออกและทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม มีการเปลี่ยนแปลง

                       การใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืชไร่และไม้ผล มากกว่าบริเวณพื้นที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม
                       ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยและยังคงพื้นที่นาข้าวเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ
                       น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินขึ้น เนื่องจากทางด้านทิศตะวันออกและ
                       ทิศตะวันตกของแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม มีสภาพพื้นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและ

                       แม่น้ ายม ท าให้สามารถจัดการพื้นที่เพื่อลดปัญหาน้ าท่วมพื้นที่ในการปลูกพืชไร่และไม้ผลได้ดีกว่า
                       แต่ก็จะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ าในช่วงฤดูแล้งได้ ส าหรับบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่าน
                       และแม่น้ ายม มีสภาพพื้นที่เหมาะส าหรับการท านาข้าวเนื่องจากเป็นที่ลุ่มท าให้สะดวกต่อการจัดการ

                       น้ าที่ใช้ในการท านา
                                  3)    ทรัพยากรดิน เป็นปัจจัยส าคัญปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกชนิดพืชปลูก
                       จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 7 และ 4 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มและกลุ่ม
                       ชุดดินที่ 33 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอน โดยกลุ่มชุดดินดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะสมส าหรับ
                       การท านาข้าว ซึ่งมีความสอดคล้องกับการท าการเกษตรของจังหวัดพิจิตรที่พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการ

                       ท านาข้าว แต่จากผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2559 พบว่า มีการ
                       เปลี่ยนแปลงพื้นที่นาข้าวบริเวณทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของจังหวัดไปเป็นพืชไร่และไม้ผล
                       เช่น มะม่วง กล้วย ส้มโอ อ้อย และข้าวโพด เป็นเพราะบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นกลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอน

                       นอกจากนี้ในกลุ่มชุดดินที่ 7  ซึ่งมีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนเหนียว นอกจากจะมีศักยภาพเหมาะสม
                       ส าหรับการท านาแล้ว ยังสามารถปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผลได้ แต่จ าเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาหรือ
                       ข้อจ ากัดในการใช้ที่ดินในเรื่องของปัญหาน้ าท่วมขัง  โดยการท าคันดินรอบพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันน้ าท่วม
                       และยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ าของดิน (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)

                                  4)    แหล่งน้ า เป็นปัจจัยหลักในการท าการเกษตร จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่แหล่งน้ าส่วนใหญ่
                       เป็นแหล่งน้ าธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ ายม แม่น้ าน่าน และแม่น้ าพิจิตร และหนองบึงต่าง ๆ ที่ส าคัญ ได้แก่
                       บึงสีไฟ ที่เป็นแหล่งน้ าธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ อยู่ในเขตอ าเภอเมืองพิจิตร
                       (ส านักงานสถิติแห่งชาติ,  2560) ถึงแม้ว่าจังหวัดพิจิตรจะมีแหล่งน้ าธรรมชาติส าหรับใช้เพื่อการท า

                       เกษตรกรรมอยู่มาก แต่ด้วยปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้จังหวัดพิจิตรประสบปัญหา
                       ภัยแล้งอย่างรุนแรง และถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ช่วงพ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2559
                       ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีปริมาณน้ าไม่เพียงพอต่อการท าการเกษตร ถึงแม้ว่าจะมีแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น
                       หรือแหล่งน้ าชลประทานแต่ก็มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ข้าวเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด และเป็น

                       พืชที่แสดงว่าแหล่งน้ าเป็นปัจจัยที่ส าคัญที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะข้าวต้องใช้น้ ามากใน
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83