Page 77 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 77

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               69







                                  หากพิจารณารายละเอียดการเปลี่ยนแปลง พบว่า พื้นที่เบ็ดเตล็ด ใน พ.ศ. 2556 ลดลง
                       จ านวน 15,008 ไร่ เนื่องจากเปลี่ยนแปลงไปเป็นประเภทการใช้ที่ดินอื่น ๆ ใน พ.ศ. 2559  ซึ่งมี
                       การเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่นามากที่สุด 3,853 ไร่ พบมากบริเวณอ าเภอทับคล้อ อ าเภอดงเจริญ
                       และอ าเภอสากเหล็ก รองลงมา มันส าปะหลัง 2,084 ไร่ พบมากบริเวณอ าเภอสามง่าม อ าเภอทับคล้อ

                       และอ าเภอโพทะเล และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 1,969 ไร่ พบมากบริเวณอ าเภอทับคล้อ
                       อ าเภอวชิรบารมี และอ าเภอโพธิ์ประทับช้าง ตามล าดับ
                                  ขณะเดียวกันพื้นที่เบ็ดเตล็ด ใน พ.ศ. 2559  มาจากพื้นที่เบ็ดเตล็ดเดิม ใน พ.ศ. 2556
                       จ านวน 58,736 ไร่ และเพิ่มขึ้นโดยเปลี่ยนแปลงมาจากประเภทการใช้ที่ดินอื่น ๆ ใน พ.ศ. 2556

                       จ านวน 3,679 ไร่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่นามากที่สุด 1,190  ไร่ พบมากบริเวณอ าเภอทับคล้อ
                       อ าเภอวชิรบารมี และอ าเภอโพธิ์ประทับช้าง รองลงมา สัก 667 ไร่ พบที่อ าเภอทับคล้อ อ าเภอวชิรบารมี
                       และอ าเภอสากเหล็ก และมันส าปะหลัง 435 ไร่ พบที่อ าเภอทับคล้อ และอ าเภอสากเหล็ก ตามล าดับ


                       4.3  ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร
                            จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร โดยเปรียบเทียบสภาพการใช้ที่ดิน
                       พ.ศ. 2556 กับสภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2559  ประกอบกับข้อมูลจากการส ารวจภาคสนาม การสอบถาม

                       จากเกษตรกรในพื้นที่ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร สามารถจ าแนก
                       ออกได้เป็น 3 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
                       มีรายละเอียดดังนี้
                            4.3.1 ปัจจัยทางด้านนโยบาย ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
                                  ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพิจิตร 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560) ก าหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า

                       แหล่งผลิตข้าวคุณภาพดี สินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมเข้าสู่
                       ประชาคมอาเซียน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาจังหวัดไว้ 6 ข้อ ดังนี้ บริหารจัดการน้ า
                       เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคการเกษตร สินค้าข้าวแบบพึ่งพาตนเอง และการท่องเที่ยวเชิง

                       วัฒนธรรม อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตตามแนวทาง
                       เศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาองค์กรและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สร้างความพร้อมของจังหวัดเข้าสู่
                       ประชาคมอาเซียน การรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ส านักงานจังหวัดพิจิตร,
                       2560ง) ส่งผลให้จังหวัดพิจิตรมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ แต่เนื่องจากจังหวัดพิจิตรไม่มีพื้นที่จะสามารถ

                       ขยายพื้นที่เกษตรกรรมได้มากนัก ท าให้พื้นที่เกษตรกรรมมีเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ดังนั้นแผนพัฒนาจังหวัด
                       จึงมุ่งเน้นไปทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนสูง ขณะที่พื้นที่ชุมชน
                       และสิ่งปลูกสร้างและแหล่งน้ าเพิ่มมากขึ้น โดยเปลี่ยนมาจากพื้นที่นาและพื้นที่เบ็ดเตล็ดมากที่สุด
                            4.3.2 ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ ทรัพยากรดิน แหล่งน้ า

                       และแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร
                                  1)    สภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศท าให้จังหวัดพิจิตรประสบภัย
                       ธรรมชาติทั้งสถานการณ์น้ าท่วมและภัยแล้ง โดยพบว่า ใน พ.ศ. 2559 จังหวัดพิจิตรประสบภัยแล้ง
                       อย่างรุนแรงต่อเนื่องมาจาก พ.ศ. 2558 ส่งผลกระทบต่อการท าการเกษตรของจังหวัด โดยเฉพาะพืช

                       เกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว ท าให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูก เช่น การเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวมาปลูก
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82