Page 85 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 85

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               77







                                  2)    ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่
                                        (1)  สภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท าให้จังหวัดพิจิตร
                       ประสบภัยธรรมชาติทั้งสถานการณ์น้ าท่วมและภัยแล้ง เกษตรกรบางรายปรับตัวโดยการเปลี่ยนแปลง
                       การปลูกพืชเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น

                                        (2)  สภาพภูมิประเทศ เนื่องจากทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของ
                       แม่น้ าน่านและแม่น้ ายมมีสภาพพื้นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม ท าให้
                       สามารถจัดการพื้นที่เพื่อลดปัญหาน้ าท่วมได้ง่าย แต่ก็จะประสบปัญหาภัยแล้งได้ในช่วงฤดูแล้งได้
                       ส าหรับบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและแม่น้ ายมมีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งเหมาะส าหรับการ

                       ท านาข้าวเนื่องจากสะดวกต่อการจัดการน้ าที่ใช้ในการท านา จึงพบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อ
                       การปลูกพืชไร่และไม้ผลทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของแม่น้ าน่านและแม่น้ ายมมากกว่า
                       บริเวณพื้นที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและแม่น้ ายมที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยและยังคงพื้นที่
                       นาข้าวเป็นส่วนใหญ่

                                        (3)  ทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 7  4  และ 33
                       โดยกลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมส าหรับการท านาข้าว ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดจึงถูกใช้
                       เพื่อการท านาข้าว และยังพบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืชไร่และไม้ผลมากบริเวณทาง

                       ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของจังหวัด เป็นเพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นกลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอน
                       นอกจากนี้กลุ่มชุดดินที่  7 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มซึ่งมีศักยภาพเหมาะสมส าหรับการท านา
                       ยังสามารถปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผลได้ แต่จ าเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาหรือข้อจ ากัดในการใช้ที่ดิน
                       ในเรื่องของปัญหาน้ าท่วมขัง โดยการท าคันดินและยกร่องปลูก
                                        (4)  แหล่งน้ า เป็นปัจจัยหลักในการท าการเกษตร จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่แหล่งน้ า

                       ส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ าธรรมชาติ แต่เมื่อประสบภัยแล้งแหล่งน้ าที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผล
                       ให้เกษตรกรต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชที่ใช้น้ าน้อยแทน
                                        (5)  แหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกพืช

                       เมื่อมีแหล่งรับซื้อผลผลิตตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง เกษตรกรมักจะเลือกปลูกพืชที่สอดคล้องกับแหล่งรับซื้อ
                       ผลผลิตนั้น เนื่องจากเห็นว่ามีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน และสะดวกในการขนผลผลิตส่งขาย
                                  3)    ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่
                                        (1)  ราคาผลผลิตทางการเกษตร เป็นปัจจัยส าคัญอย่างหนึ่งที่ท าให้เกษตรกร

                       ตัดสินใจปลูกพืชแต่ละชนิด เนื่องจากเกษตรกรต้องการปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง เพื่อเป็นการสร้าง
                       รายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว
                                        (2)  ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถือเป็นปัจจัยส าคัญ
                       ที่มีผลต่อการก าหนดราคา การรับซื้อของตลาดและการผลิต และมีผลต่อการวางแผนปลูกพืช นั้น ๆ

                       ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยพบว่าจังหวัดพิจิตรมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ผลเพื่อผลิตไม้ผล
                       ส่งออกตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ไม้ผลที่ส าคัญ คือ มะม่วง และส้มโอ
                                        (3)  การเห็นแบบอย่างที่ประสบความส าเร็จ เกษตรกรบางรายเลือกเปลี่ยนแปลง
                       การปลูกพืชจากการที่เห็นเกษตรรายอื่นปลูกพืชชนิดนั้นประสบความส าเร็จ ขายได้ราคาดี ท าให้ได้

                       ผลตอบแทนสูง
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90